Aquanants: Leopard Shark , Lemon Shark

ผมคิดว่ารายการนี้น่าจะมีชื่อเสียงพอสมควรในช่อง Animal Planet โดยเปิดรายการจะแนะนำพิธีกร(ที่สวมชุด Wet Suit พร้อมสรรพ) ระดับของการดำน้ำว่าอยู่ขั้นไหนแล้ว จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของรายการ
เริ่มที่ฉลามเสือดาว(Leopard Shark)แห่งซานตา ครูซ นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาการย่อยอาหารของฉลามเสือดาวโดยการใช้แป้งเพื่อให้สลบ ซักพักมันก็นอนแน่นิ่งเหมือนเด็ก ก่อนที่จะสอดวัตถุที่เหมือนกับสายยางเข้าไปในปาก เพื่อที่จะดึงอาหารในกระเพาะมันออกมาดู(ในกระเพาะมีอาหารน้อยมาครับ แสดงว่าเจ้านี้อดอยากพอสมควร ยังไม่ได้กินอะไรมาเลย)
ต่อด้วยการไปสำรวจแนวปะการังที่เกรท แบริเออร์ รีฟ ซึ่งพบว่ามีดาวมงกุฎหนามกินแนวปะการังเป็นบริเวณกว้าง พวกเขาจึงใช้วิธี(ที่พวกเขาบอกว่าไม่อยากทำเพราะเป็นการทำลายธรรมชาติแต่จำเป็นต้องทำ) คือ การทำลายดาวมงกุฎหนามโดยใช้ สารชนิดหนึ่งฉีดเข้าไปในตัวดาวมงกุฎหนามทำให้ระบบย่อยอาหารของมันไม่สามารถเป็นไปโดยปกติและตายไปในที่สุด(พวกเขาบอกว่าปัจจุบันทำลายไปแล้วกว่า 20,000 ตัวแต่ยังไม่ถึง 50 เปอร์เซนต์ของทั้งหมดเลยครับ ) ผมนึกถึงปะการังที่เกาะโลซินในเมืองไทยเราที่มีเจ้านี้มากเช่นกัน
จากนั้นไปที่เฟรนซ์ โพลินีเซีย เพื่อดำน้ำร่วมกับฉลามพันธ์ Lemon Shark ที่มีสีสันสวยงามและมีความฉลาดหลักแหลมอยู่ในตัว แน่นอนครับด้วยขนาดลำตัวที่ใหญ่ทำให้เราไม่กล้าเข้าไปแหย่มันนัก
ไปที่มานาโด ประเทศอินโดนีเซีย เราจะพาไปดูม้าน้ำแคระปิ๊กมี(Pygmy Seahorse) ม้าน้ำตัวเล็กที่สุดในโลก โดยอย่างที่รู้ๆกันว่า นี่ คือ สัตว์ทะเลที่น่ายกย่องเพราะฝ่ายชายเป็นผู้อุ้มท้อง อีกทั้งชั่วชีวิตก็รักเดียวใจเดียว ม้าน้ำแคระสร้างรายได้มหาศาลให้กับอินโดนีเซียเพราะใครๆก็อยากมาดูมันอย่างใกล้ชิด
กลับมาที่เกาะฮาวายเพื่อใช้วิธีการด้านโบราณคดีสำรวจเครื่องบินที่จมอยู่ใต้น้ำตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 พิธีกรสาวท่านหนึ่งใช้การถ่ายรูปใต้น้ำเพียงครั้งเดียว ถ่ายส่วนต่างๆของเครื่องบินแล้วนำรูปมาต่อกันบนบก นับเป็นภาพถ่ายที่สมบูรณ์มากและใช้เวลารวดเร็วเพื่อให้นักศึกษาทางด้านโบราณคดีศึกษาต่อไป
นี่ก็เป็นเรื่องราวใต้ทะเล ที่ผ่านตามาและอยากถ่ายทอดให้ฟังครับ
หมายเหตุ ภาพประกอบ ขอขอบคุณ คุณวินิจ รังผึ้ง แห่งอนุสาร อ.ส.ท. ครับ
เริ่มที่ฉลามเสือดาว(Leopard Shark)แห่งซานตา ครูซ นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาการย่อยอาหารของฉลามเสือดาวโดยการใช้แป้งเพื่อให้สลบ ซักพักมันก็นอนแน่นิ่งเหมือนเด็ก ก่อนที่จะสอดวัตถุที่เหมือนกับสายยางเข้าไปในปาก เพื่อที่จะดึงอาหารในกระเพาะมันออกมาดู(ในกระเพาะมีอาหารน้อยมาครับ แสดงว่าเจ้านี้อดอยากพอสมควร ยังไม่ได้กินอะไรมาเลย)
ต่อด้วยการไปสำรวจแนวปะการังที่เกรท แบริเออร์ รีฟ ซึ่งพบว่ามีดาวมงกุฎหนามกินแนวปะการังเป็นบริเวณกว้าง พวกเขาจึงใช้วิธี(ที่พวกเขาบอกว่าไม่อยากทำเพราะเป็นการทำลายธรรมชาติแต่จำเป็นต้องทำ) คือ การทำลายดาวมงกุฎหนามโดยใช้ สารชนิดหนึ่งฉีดเข้าไปในตัวดาวมงกุฎหนามทำให้ระบบย่อยอาหารของมันไม่สามารถเป็นไปโดยปกติและตายไปในที่สุด(พวกเขาบอกว่าปัจจุบันทำลายไปแล้วกว่า 20,000 ตัวแต่ยังไม่ถึง 50 เปอร์เซนต์ของทั้งหมดเลยครับ ) ผมนึกถึงปะการังที่เกาะโลซินในเมืองไทยเราที่มีเจ้านี้มากเช่นกัน
จากนั้นไปที่เฟรนซ์ โพลินีเซีย เพื่อดำน้ำร่วมกับฉลามพันธ์ Lemon Shark ที่มีสีสันสวยงามและมีความฉลาดหลักแหลมอยู่ในตัว แน่นอนครับด้วยขนาดลำตัวที่ใหญ่ทำให้เราไม่กล้าเข้าไปแหย่มันนัก
ไปที่มานาโด ประเทศอินโดนีเซีย เราจะพาไปดูม้าน้ำแคระปิ๊กมี(Pygmy Seahorse) ม้าน้ำตัวเล็กที่สุดในโลก โดยอย่างที่รู้ๆกันว่า นี่ คือ สัตว์ทะเลที่น่ายกย่องเพราะฝ่ายชายเป็นผู้อุ้มท้อง อีกทั้งชั่วชีวิตก็รักเดียวใจเดียว ม้าน้ำแคระสร้างรายได้มหาศาลให้กับอินโดนีเซียเพราะใครๆก็อยากมาดูมันอย่างใกล้ชิด
กลับมาที่เกาะฮาวายเพื่อใช้วิธีการด้านโบราณคดีสำรวจเครื่องบินที่จมอยู่ใต้น้ำตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 พิธีกรสาวท่านหนึ่งใช้การถ่ายรูปใต้น้ำเพียงครั้งเดียว ถ่ายส่วนต่างๆของเครื่องบินแล้วนำรูปมาต่อกันบนบก นับเป็นภาพถ่ายที่สมบูรณ์มากและใช้เวลารวดเร็วเพื่อให้นักศึกษาทางด้านโบราณคดีศึกษาต่อไป
นี่ก็เป็นเรื่องราวใต้ทะเล ที่ผ่านตามาและอยากถ่ายทอดให้ฟังครับ
หมายเหตุ ภาพประกอบ ขอขอบคุณ คุณวินิจ รังผึ้ง แห่งอนุสาร อ.ส.ท. ครับ