ใต้ผืนน้ำมี....กุ้งตัวยาว
เมษายน 2548 ผมอยู่ที่ Dive Shop ของชุมพรคาบาน่า รีสอรท์ เพื่อมาเรียนดำน้ำ ขณะกำลังเลือกอุปกรณ์ สายตาของผมก็เหลือบไปเห็นโปสเตอร์แผ่นหนึ่ง เขียนว่า “เหมือนฝัน...ฉันเห็นกุ้งตัวยาว”เขียนโดย ดร. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์(ถ้าจำชื่อเรื่องผิด ขออภัยนะครับ)
เรื่องราวพูดถึง สุดยอดกุ้งตัวนึง รูปร่างประหลาด แต่คุ้มค่าในการค้นหา เพราะเป็นกุ้งที่นักดำน้ำชื่นชอบ มักพบเห็นได้กับปะการังดำแบบเส้น(แส้ทะเล)และปะการังแบบพุ่ม
แม้ฉลามวาฬ ยักษ์ใหญ่ผู้ใจดี จะเป็นไฮไลท์ ของที่นี่ สำหรับนักเรียนใหม่อย่างผม แค่กุ้งตัวยาวก็คุ้มค่าแล้วครับ จะมีโอกาสได้เห็นไหมนะ
“พี่ครับ ผมอยากเห็นกุ้งตัวยาว”
…………………….
“แก๊งค์ๆๆๆๆๆๆ” เสียงใครคนหนึ่งเคาะ pointer
ในความลึก 18 เมตร ที่เกาะง่ามน้อย พี่ปู หนึ่งใน Dive leader ของชุมพรคาบาน่าและพี่ป้อม(ครูสอนดำน้ำ) พาผม มาหยุดอยู่ที่แส้ทะเลกอหนึ่ง และชี้ให้ดูสัตว์ทะเลที่เกาะอยู่ที่แส้ทะเลต้นนั้น มีขนาดลำตัวประมาณ 6-7 เซนติเมตร
“กุ้งตัวยาว!!!!”(Sawblade shrimp) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tozeuma armatum
ผมอยากจะพูดออกมา(แต่ทำไม่ได้ เพราะน้ำจะเข้าปากซิครับ) แต่ในใจบ่งบอกถึงความตื่นเต้น ที่ได้เห็นตัวจริงของสัตว์ทะเลเมื่อซักครู่ที่ได้เห็นแค่บนหน้ากระดาษ
พวกเขาเป็นสัตว์เกาะติดครับ มักจะอยู่กับที่ไม่ไปไหน
มีลักษณะลำตัวยาวเรียวและแบนข้าง สีเดียวกับปะการังดำที่อาศัยอยู่ มักเกาะนิ่ง เพื่อพรางตัว
สำหรับอาหาร พวกเขากินเมือกและเศษตะกอนตามปะการังดำและกินแพลงตอนในเวลากลางคืนครับ
มักพบในเขตน้ำขุ่นพบทั้งอ่าวไทยและอันดามัน(แต่ก็ไม่ได้เจอกันง่ายๆนะ)
ลองสังเกตดูที่หัวและหางของพวกเขาครับ คุณว่าตรงไหนคือหัว ตรงไหนคือหาง?
ผมทราบมาภายหลังว่า บริเวณนั้น ไม่มีกุ้งตัวยาวอีกแล้ว อาจเป็นเพราะมีคนไปรบกวน หรือกุ้งอาจจะเปลี่ยนที่อยู่ ซึ่งผมก็ภาวนาให้เป็นอย่างหลังมากกว่า
...................................
สิงหาคม 2550 ผมได้มีโอกาสได้พบเพื่อนเก่าอีกครั้ง
คราวนี้พบที่อ่าวแห่งหนึ่ง ใกล้หินเด่น เกาะนางยวนครับ เป็น Night Dive เสียด้วย
คนหาก็ตาดีจริงๆ พวกเขามีขนาดเล็กมากครับ เกาะอยู่ที่แส้ทะเลชนิดเดิม ขนาดลำตัวไม่ถึง 5 เซนติเมตร(ต้องใช้แว่นขยายน่าจะดี 555)
ผมจ้องดูกุ้งตัวยาว อย่างมีความสุข นี่คือ หนึ่งในสุดยอดกุ้ง ที่นักดำน้ำ ถวิลหา
และหวังอย่างยิ่งว่า พวกเขาจะอยู่คู่ทะเลไทยต่อไป
ตราบนานเท่านานครับ
ขอขอบคุณ- หนังสือกุ้งทะเลไทย ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ,ปริญญา ลิมป์วิริยะกุล,ไพลิน จิตรชุ่ม
เรื่องราวพูดถึง สุดยอดกุ้งตัวนึง รูปร่างประหลาด แต่คุ้มค่าในการค้นหา เพราะเป็นกุ้งที่นักดำน้ำชื่นชอบ มักพบเห็นได้กับปะการังดำแบบเส้น(แส้ทะเล)และปะการังแบบพุ่ม
แม้ฉลามวาฬ ยักษ์ใหญ่ผู้ใจดี จะเป็นไฮไลท์ ของที่นี่ สำหรับนักเรียนใหม่อย่างผม แค่กุ้งตัวยาวก็คุ้มค่าแล้วครับ จะมีโอกาสได้เห็นไหมนะ
“พี่ครับ ผมอยากเห็นกุ้งตัวยาว”
…………………….
“แก๊งค์ๆๆๆๆๆๆ” เสียงใครคนหนึ่งเคาะ pointer
ในความลึก 18 เมตร ที่เกาะง่ามน้อย พี่ปู หนึ่งใน Dive leader ของชุมพรคาบาน่าและพี่ป้อม(ครูสอนดำน้ำ) พาผม มาหยุดอยู่ที่แส้ทะเลกอหนึ่ง และชี้ให้ดูสัตว์ทะเลที่เกาะอยู่ที่แส้ทะเลต้นนั้น มีขนาดลำตัวประมาณ 6-7 เซนติเมตร
“กุ้งตัวยาว!!!!”(Sawblade shrimp) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tozeuma armatum
ผมอยากจะพูดออกมา(แต่ทำไม่ได้ เพราะน้ำจะเข้าปากซิครับ) แต่ในใจบ่งบอกถึงความตื่นเต้น ที่ได้เห็นตัวจริงของสัตว์ทะเลเมื่อซักครู่ที่ได้เห็นแค่บนหน้ากระดาษ
พวกเขาเป็นสัตว์เกาะติดครับ มักจะอยู่กับที่ไม่ไปไหน
มีลักษณะลำตัวยาวเรียวและแบนข้าง สีเดียวกับปะการังดำที่อาศัยอยู่ มักเกาะนิ่ง เพื่อพรางตัว
สำหรับอาหาร พวกเขากินเมือกและเศษตะกอนตามปะการังดำและกินแพลงตอนในเวลากลางคืนครับ
มักพบในเขตน้ำขุ่นพบทั้งอ่าวไทยและอันดามัน(แต่ก็ไม่ได้เจอกันง่ายๆนะ)
ลองสังเกตดูที่หัวและหางของพวกเขาครับ คุณว่าตรงไหนคือหัว ตรงไหนคือหาง?
ผมทราบมาภายหลังว่า บริเวณนั้น ไม่มีกุ้งตัวยาวอีกแล้ว อาจเป็นเพราะมีคนไปรบกวน หรือกุ้งอาจจะเปลี่ยนที่อยู่ ซึ่งผมก็ภาวนาให้เป็นอย่างหลังมากกว่า
...................................
สิงหาคม 2550 ผมได้มีโอกาสได้พบเพื่อนเก่าอีกครั้ง
คราวนี้พบที่อ่าวแห่งหนึ่ง ใกล้หินเด่น เกาะนางยวนครับ เป็น Night Dive เสียด้วย
คนหาก็ตาดีจริงๆ พวกเขามีขนาดเล็กมากครับ เกาะอยู่ที่แส้ทะเลชนิดเดิม ขนาดลำตัวไม่ถึง 5 เซนติเมตร(ต้องใช้แว่นขยายน่าจะดี 555)
ผมจ้องดูกุ้งตัวยาว อย่างมีความสุข นี่คือ หนึ่งในสุดยอดกุ้ง ที่นักดำน้ำ ถวิลหา
และหวังอย่างยิ่งว่า พวกเขาจะอยู่คู่ทะเลไทยต่อไป
ตราบนานเท่านานครับ
ขอขอบคุณ- หนังสือกุ้งทะเลไทย ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ,ปริญญา ลิมป์วิริยะกุล,ไพลิน จิตรชุ่ม
0 Comments:
Post a Comment
<< Home