Scuba…..ที่เกาะเต่า(3)
ได้เหยียบเกาะเต่าเป็นครั้งที่ 2 !!!
เรานั่งดิงกี้ไปในรอบที่ 2 ครับ มีพี่โจ พี่ปอ คุณมาโนช(เพื่อนคุณนิคกี้) พี่โหน่ง พี่ท๊อป พี่อรรถ เดียร์ จูน และพี่นัท 20 นิ้ว
พระอาทิตย์กำลังตกที่เกาะเต่า แสงสีทองสวยงามมากครับ ในขณะที่แสงสว่างบนเกาะกลับยังไม่มืดเสียทีเดียว
ผมมองดูสะพานท่าเทียบเรือที่ทอดยาวออกไป จำได้ดีว่าเคยเดินมาแล้ว แสงพระอาทิตย์กับ สะพานท่าเทียบเรือ เป็นมุมถ่ายรูปที่ดูไม่เลวเหมือนกันครับ
แอบถ่ายน้องหมาซะหน่อย แต่เจ้าหมาดำตัวนี้ ดูไม่ค่อยเป็นมิตร ตาแดงก่ำเลย อยู่ไกลๆดีกว่า เดี๋ยวโดนกัด
เรานัดกับดิงกี้ประมาณ 1 ทุ่ม เท่ากับว่ามีเวลาอยู่บนเกาะประมาณ 40 นาที เดียร์กับจูนถามว่า อยากไปเดินหาดอื่นๆ ด้วย ในฐานะที่ผมเคยมาแล้วจึงแนะนำว่า เดินที่หาดแม่หาดนี่แหละเพราะหากไปหาดทรายรี จะต้องนั่งรถไปที่ถนนด้านหลัง ต้องใช้เวลาพอสมควร(ไม่สามารถเดินลัดเลาะจากด้านหน้าไปหาดทรายรีได้ครับ น่าจะมีกองหิน บังอยู่)
หาดแม่หาดก็เป็นอีกหาดที่เป็นหาดยอดฮิตของชาวต่างชาติ(ก็มีทุกหาดแหละครับ บนเกาะนี้หาคนไทยที่เป็นนักท่องเที่ยวยากครับ) เพราะอยู่ใกล้ท่าเรือ ที่พักมีเยอะ มีทั้ง Bar สำหรับนั่งดื่ม ร้านอาหาร ร้านโรตีก็มี ร้าน Internet ADSL สนนราคา 2 บาท ต่อนาทีครับ(ราคาปกติสำหรับเกาะที่ห่างไกลชายฝั่งแบบนี้ครับ) ร้านดำน้ำที่มีมากมายเหลือเกิน ร้านสนุกเกอร์ ร้านขายเสื้อผ้า ร้านสะดวกซื้อที่มีรอยยิ้มที่เป็นกันเองของชาวบ้านบนเกาะ ที่สำคัญ ที่หาดแม่หาดจะออกเรือไปดำน้ำรอบเกาะเต่าหรือจะไปเกาะนางยวนที่อยู่ใกล้ๆก็แสนจะสะดวกครับ
พระอาทิตย์มาอยู่ระหว่างกลางช่องๆหนึ่งของเรือพอดี จึงไม่พลาดที่จะถ่ายรูปไว้ครับ ฉากเรือไม้บนพื้นทรายกับแสงสีทองก็สวยไปอีกแบบครับ
มีเต่าตัวใหญ่อยู่ในน้ำ ผมอยากไปถ่ายรูปกับเต่าหินซะหน่อย ซึ่งก็ไม่ลำบากมากครับ(แต่ต้องยกเสื้อขึ้นเหนือยอดอกหน่อย เดี๋ยวเปียกครับ) ส่วนช่วงล่าง เป็นคนขี้เกียจครับ ยังใส่ Wetsuit อยู่เลย 555
บนเกาะมีทีวีจอยักษ์ ค่อนข้างเยอะครับ คืนวันเสาร์แบบนี้ เป็นอื่นไปไม่ได้นอกจาก ฟุตบอล Primier league กำลังถ่ายคู่ Liverpool VS Sunderland อยู่เลยครับ
ขากลับผมสักการะศาลเจ้าพ่อเกาะเจริญ เพื่อความเป็นศิริมงคล ก่อนที่จะเดินเลยจุดนัดพบไปนิดหน่อย(มันมืดครับ) ต้องสอบถามชาวบ้านบนเกาะเล็กน้อย
พี่โหน่งหายไปครับ คาดว่าน่าจะอยู่กับพี่ปอ พี่โจและคุณนิคกี้ เดี๋ยวถึงเรือ เราจะลองติดต่อคุณนิคกี้ทางวิทยุสื่อสาร
บนเรือแทบไม่เหลือ Diver เลยครับ(เหลือแค่พี่สมบูรณ์กับครูตั้มเท่านั้นเอง) ส่วนใหญ่ออกเดินเล่นบนเกาะเต่ากันหมด( โอกาสแบบนี้หาไม่ได้ง่ายๆนะครับ ใช่ว่าทุกลำซะเมื่อไร จะให้ขึ้นเกาะ)
ผมใช้เวลาที่เรือปลอดคนแบบนี้ ถ่ายรูปบนเรือบางจุด กับนั่งเขียน log book เปิดหนังสือปลาดูว่า เจออะไรมาบ้าง
ในที่สุดก็เจอพี่โหน่ง(ก็อยู่กับพี่ปอ พี่โจและคุณนิคกี้ นั่นแหละครับ)
เมื่อทุกคนมากันครบ เรือโชคทวีจึงออกเดินทางไปบริเวณอ่าวแห่งหนึ่ง ใกล้หินเด่น เกาะนางยวน จุดที่จะทำ Night Dive ในคืนนี้ ผมยืมไฟฉายของพี่ปุ๊ยมาใช้เพราะแกไม่ได้ลง (คนลงเป็นส่วนน้อยครับ ส่วนใหญ่ไม่ได้ลงกัน อาจเป็นเพราะเริ่มที่จะดื่มน้ำเปลี่ยนนิสัยกันแล้วครับ 555)
Dive 4 ทักทายเพื่อนเก่าชื่อ กุ้งตัวยาว ตอน Night Dive!!!
หลังจากนั่งดิงกี้ออกไป เราทำท่า Back row ลงสู่น้ำ Dive site ที่นี่ ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นทรายครับ มีกอปะการังอยู่บ้างแต่ไม่มาก ไม่นานนักผมเจอปูเสฉวนตัวหนึ่ง หลังจากมาเปิดหนังสือดู เขาคือ ปูเสฉวนยักษ์(White-spotted hermit crab) จุดสังเกต คือ พบตามพื้นทรายและก้อนปะการัง อยู่ในเปลือกหอยที่มีช่องเปิดกว้างและจุดสีขาวที่มีอยู่ตามตัวครับ
จากนั้นเจอปูขนาดเล็กอีกตัว บริเวณพื้นทราย จำรายละเอียดได้ไม่มากนักครับ
พี่ป้อมเรียกให้ดูที่แส้ทะเลกอนึง ตอนแรกไม่เห็นมีอะไร พอดูชัดๆ นี่ คือ กุ้งตัวยาว(Sawblade shrimp) หนึ่งในสุดยอดกุ้งที่นักดำน้ำปรารถนาที่จะเห็น เพราะหายาก แต่ดูได้นานไม่ค่อยหนีไปไหน(หนีไป พวกเขาก็มีชีวิตอยู่ไม่ได้ เพราะอาศัยบนปะการังดำแบบเส้น(แส้ทะเล)และปะการังดำแบบพุ่มเท่านั้นครับ ฉะนั้นอย่าแกล้งไล่เขาไปที่อื่นนะครับ)
นี่เป็นครั้งที่ 2 ที่ผมได้พบเขาครับ หลังจากเจอที่เกาะง่ามน้อย สมัยมาเรียนดำน้ำเมื่อหลายปีก่อน เจ้าตัวนี้เล็กมากครับ ขนาดไม่เกิน 5 ซม(ต้องเพ่งดีๆครับ เล็กจริงๆ) แถมเป็นการเจอตอน Night dive ซะด้วย สุดยอดจริงๆครับ
นอกนั้นที่เจอส่วนใหญ่ก็เป็นปลากระรอกลายแดง(Red coat )และปลาแพะ(Goat fish)
ช่วงทำ safety stop ผมเคาะแท๊งค์ให้ทุกคนมารวมกัน อาจดูหนวกหูแต่ผมเจตนาดีครับ กลัวคนอื่นจะมาไม่ครบ เพราะการดำแบบ Night dive ยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษครับ
เราเกาะดิงกี้ จนมาถึงเรือ ผมแหงนหน้าดูท้องฟ้าตลอดทาง สำหรับผม การดำน้ำแบบ Night dive แม้จะมืด มีเพียงแสงไฟฉาย แต่เย้ายวนใจผมตลอดเวลาๆครับ
บนเรือมี UBC ด้วยครับ แปลกแต่จริง เลยได้อานิสสงฆ์ ดูบอลคู่ Arsenal VS Manchester city เล็กๆ น้อยๆ อาร์เซนอลชนะด้วย ก็เฮซิครับ
5 ทุ่มกว่าแล้ว ผมพึ่งจะได้ทานข้าวเย็นเอง วันนี้มีกุ้งเผา ปลาหมึกและปลาเผา ต้มยำกุ้ง ข้าวผัดปู จากนั้นก็เปิดหนังสือดูปลา จด log book คุยกับพี่ๆ นานพอสมควรครับ เพราะยังไม่ง่วงนอนเลย
เมื่อสมาชิกเริ่มหาย ก็แยกย้ายกันไปนอนครับ พรุ่งนี้ยังมีการดำน้ำที่กองชุมพร อีกหนึ่งจุดดำน้ำยอดฮิตในเวลานี้ รอเราอยู่ครับ
26 สิงหาคม 2550
เช้านี้ทานแค่ผลไม้รองท้องก่อนครับ ที่กองชุมพร(Chumporn Pinacle)เรือเยอะแบบที่ครูโก้ว่าไว้จริงๆครับ(ที่เห็นก็ 4 ลำแล้วครับ)
ความลึกสูงสุดอยู่ที่ 30 เมตรครับ จุดเด่นอยู่ Bull Shark ฉลามที่ทุกคนอยากจะเห็น(ถามว่าเป็นฉลามกินเนื้อใช่ไหม ตอบว่า ใช่ครับ) แต่เราไม่ทำร้ายเขา เขาก็ไม่ทำอะไรเราหรอกครับ อีกอย่างการเห็นฉลามที่เมืองไทย เดี๋ยวนี้ไม่ง่ายนักเพราะมักจะถูกจับไปทำหูฉลามหมด Bull Shark จึงมีค่ามากสำหรับวงการดำน้ำบ้านเรา สร้างรายได้ให้ประเทศอีกบานตะไทเลยครับ นอกจากนี้ก็ยังมีฝูงปลาหูช้างและฝูงปลาสากที่เราอาจจะได้เห็นกันครับ
ในวันนี้ กลุ่มผมได้ลงเป็นชุดแรกด้วย ผมว่าโชคดีมากๆครับ (ถึงก่อนมีสิทธิก่อนเจ้า)
Dive 5 ผมเจอ Bull Shark ครับ!!!
กองชุมพร น้ำใสจริงๆครับ ปลาเยอะอย่างที่ได้ยินมาด้วย ฉลามตัวหนึ่งว่ายผ่านข้างๆผม ในแนวดิ่งประมาณ 45 องศา ชัดเจนครับ เขาคือ Bull Shark หรือฉลามกระทิง(คนไทยจะเรียกว่าฉลามหัวบาตรครับ) อยู่ในแม่น้ำก็ได้นะครับ เมืองไทยจะพบในแม่น้ำโขง แปลกแต่จริงนะ
จากการที่ผมดูรูปในเว็บwww.scubazoom.com อยู่หลายสิบครั้ง ก็ค่อนข้างมั่นใจครับ ผมอยากนำคำพูดของพี่นัท สุมนเตมีย์มาลงไว้ เกี่ยวกับ Bull Shark ครับ
“มีข้อสงสัยหลายข้อเกี่ยวกับ bull shark ที่กองหินชุมพร หลายคนว่าเป็น grey reef อ้วนๆ หลายคนว่าเป็น bull shark หรือที่คนไทยเรียกกันว่าฉลามหัวบาตร(เพราะว่าหัวมันป้านๆคล้ายบาตรพระ) แต่ที่แน่ Bull shark กับ grey reef รูปร่างต่างกันเหมือนเขาทราย กาแลคซี่ กับไมค์ ไทสัน
สังเกตได้ว่า grey reef shark หัวของมันจะแหลมมาก จนทำให้ชาวประมงบางคนเรียกมันว่า "หัวแหลม" นอกเหนือไปจาก "หัวบาตร" และ "หัวค้อน" grey reef shark เป็นฉลามสามัญประจำ reef ทั่วโลก หลายๆที่มีเป็นฝูงๆ ราวกับยุง
มาดู bullshit เอ้ย bull shark ของเรากันบ้าง ข้อแรก หัวป้านกว่า ข้อที่สองครีบหลังเป็นกระโดงรูปสามเหลี่ยมมุมป้านกว่า ข้อสามแหล่งอาศัยชอบอยู่ในพื่นที่ที่มีความเค็มของน้ำต่ำ (ลืมบอกไปว่า Grey reef shark ชอบอาศัยอยู่ตาม Atoll กลางทะเล)
ลืมบอกไปว่า อ้วนกว่าด้วย
bull shark สามารถปรับตัวเข้าไปอาศัยในน้ำจืดได้ และรายงานการโจมตีหลายๆครั้งพบในแม่น้ำสายใหญ่ๆที่เชื่อมกันกับทะเล เช่น แม่น้ำ Zambezi ใน South africa ฉลามหัวบาตร กินอาหารหลายชนิดตั้งแต่ปลาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะปลากระเบน และฉลามขนาดเล็ก(รวมทั้งพวกเดียวกันเอง) ปลาหมึกชนิดต่างๆ เม่นทะเล ยังไม่มีรายงานว่าโจมตี นักดำน้ำแบบ scuba (แต่ข้อมูลนานแล้วนะ)
ข้อสงสัยสุดท้ายว่าทำไม bull shark ที่กองชุมพรมีโคนหางสีดำ ตอบง่ายๆครับ ตัวที่มีสีดำแต้มที่โคนหางและปลายครีบเป็นตัวยังโตไม่เต็มวัย ฉะนั้น Bull shark ที่ชุมพรหลายๆตัวยังเป็นน้องเด็กอยู่ เมื่อโตเต็มที่พี่ Bull shark อาจโตได้ถึงเกือบ 4 เมตรครับ สรุปว่าผมเชื่อว่าเป็น bull shark ครับและฉลามฝูงนี้มีคุณค่าต่อเกาะเต่า และประเทศไทยมากๆ เพราะ Bull shark ไม่ใช่ bullshit ที่เป็นฉลามโหลๆเหมือนกับ white tip reef shark หรือ grey reef shark ทรัพยากรอันทรงคุณค่านี้ควรจะอยู่คู่ท้องทะเลไทยไปนานๆ”
ผมเคาะ pointer เรียกทุกคน แต่ Bull shark ว่ายไปเร็วมากครับ เหมือนจะมาทักทายเฉยๆ
ที่ผิวน้ำ ผมเห็นปลาหมอทะเล(Giant Grouper) ตัวใหญ่และอ้วนพี เป็นครั้งแรกเช่นเดียวกันครับ ที่ผมได้เห็นปลาหมอทะเลตัวเป็นๆใต้น้ำ หลังจากเคยเห็นแต่ในร้านข้าวต้ม อีกอย่าง ปลาหมอทะเลก็ถือเป็นปลาที่หาดูยากเหมือนกันครับ เพราะโดนตกไปซะเยอะแล้ว
จากนั้น ด้านซ้ายมือของผม Bull shark 2 ตัว ว่ายผ่านไป อย่างเร็วเช่นเดียวกันครับ(ไม่ใช่อย่างแรงนะ) มองเห็นเหาฉลาม(Shark Sucker) เกาะตึดหนึบเลยครับ
ไม่นานนัก ด้านล่างของผมก็พบ ปลาหมอทะเล(Giant Grouper) อีก 2 ตัว รูปร่างใหญ่กว่าเดิมอีกครับ น่าจะเข้าไปกอดเล่นซักตัว(คงจะทันอยู่หรอกนะ55 ล้อเล่นครับ แกล้งสัตว์ทะเล ไม่ดีครับ)
ฝูงปลาหูช้างครีบยาว(Teira Batfish) ออกมาทักทาย ปลาหูช้างประเภทนี้ ขี้เล่น พบได้บ่อยในฝั่งอ่าวไทย สังเกตที่ครีบท้องมีสีเหลืองครับ นอกจากนี้ ผมกวาดสายตาไปอีกด้านหนึ่ง พบตัวที่มีครีบท้องสีดำ เลยไม่แน่ใจว่าจะเป็น ปลาค้างคาว(Pinnate Batfish) ที่พบบ่อยในฝั่งอันดามันหรือไม่
ฝูงปลามงตาโต(Bigeye Trevally) อยู่ด้านขวามือผม แม้จะไม่มากเท่าที่หินใบ แต่น้ำที่ใสกว่า เห็นในระยะที่ใกล้กว่า ทำให้ผมทึ่งกลับกำแพงสีน้ำเงินนี้จริงๆครับ
ยังไม่หมดครับ ปลาสากหางเหลือง(Yellow-tail Baracuda) หลายฝูง ฝูงละประมาณ 20 ตัวขึ้นไป ออกมาปรากฎตัว ผมมีความสุขจริงๆครับ ปลาเยอะดี
ผ่านแนวปะการัง ผมเห็นปลาไหลมอเรย์ตาขาว(Greyface moray) ยื่นหน้าออกมา ฟันยังคมเหมือนเดิมเลยครับ(ฟันทู่ก็ไม่ใช่มอเรย์ซิเว้ย ไอ้น้อง)
นอกจากนั้นก็จะมี ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง(Pink Anemonefish) ปลาสลิดหินสามจุด(Three-spot Dascyllus) ปลากระรอกลายแดง(Red coat ) ปลาผีเสื้อเหลืองชุมพร(Weibel ‘ s Butterflyfish) ปลาเก๋าหน้าแดง(Black-tipped grouper) และปลาโนรี(Longfin Bannerfish) ครับ
หลังทานอาหารเช้า ผมไม่ลืมที่จะทานแอดติเฟดและหามุม(เดิม) นอนหลับตามระเบียบครับ(ไม่ใช่จับได้โดยละม่อมนะ)
เรานั่งดิงกี้ไปในรอบที่ 2 ครับ มีพี่โจ พี่ปอ คุณมาโนช(เพื่อนคุณนิคกี้) พี่โหน่ง พี่ท๊อป พี่อรรถ เดียร์ จูน และพี่นัท 20 นิ้ว
พระอาทิตย์กำลังตกที่เกาะเต่า แสงสีทองสวยงามมากครับ ในขณะที่แสงสว่างบนเกาะกลับยังไม่มืดเสียทีเดียว
ผมมองดูสะพานท่าเทียบเรือที่ทอดยาวออกไป จำได้ดีว่าเคยเดินมาแล้ว แสงพระอาทิตย์กับ สะพานท่าเทียบเรือ เป็นมุมถ่ายรูปที่ดูไม่เลวเหมือนกันครับ
แอบถ่ายน้องหมาซะหน่อย แต่เจ้าหมาดำตัวนี้ ดูไม่ค่อยเป็นมิตร ตาแดงก่ำเลย อยู่ไกลๆดีกว่า เดี๋ยวโดนกัด
เรานัดกับดิงกี้ประมาณ 1 ทุ่ม เท่ากับว่ามีเวลาอยู่บนเกาะประมาณ 40 นาที เดียร์กับจูนถามว่า อยากไปเดินหาดอื่นๆ ด้วย ในฐานะที่ผมเคยมาแล้วจึงแนะนำว่า เดินที่หาดแม่หาดนี่แหละเพราะหากไปหาดทรายรี จะต้องนั่งรถไปที่ถนนด้านหลัง ต้องใช้เวลาพอสมควร(ไม่สามารถเดินลัดเลาะจากด้านหน้าไปหาดทรายรีได้ครับ น่าจะมีกองหิน บังอยู่)
หาดแม่หาดก็เป็นอีกหาดที่เป็นหาดยอดฮิตของชาวต่างชาติ(ก็มีทุกหาดแหละครับ บนเกาะนี้หาคนไทยที่เป็นนักท่องเที่ยวยากครับ) เพราะอยู่ใกล้ท่าเรือ ที่พักมีเยอะ มีทั้ง Bar สำหรับนั่งดื่ม ร้านอาหาร ร้านโรตีก็มี ร้าน Internet ADSL สนนราคา 2 บาท ต่อนาทีครับ(ราคาปกติสำหรับเกาะที่ห่างไกลชายฝั่งแบบนี้ครับ) ร้านดำน้ำที่มีมากมายเหลือเกิน ร้านสนุกเกอร์ ร้านขายเสื้อผ้า ร้านสะดวกซื้อที่มีรอยยิ้มที่เป็นกันเองของชาวบ้านบนเกาะ ที่สำคัญ ที่หาดแม่หาดจะออกเรือไปดำน้ำรอบเกาะเต่าหรือจะไปเกาะนางยวนที่อยู่ใกล้ๆก็แสนจะสะดวกครับ
พระอาทิตย์มาอยู่ระหว่างกลางช่องๆหนึ่งของเรือพอดี จึงไม่พลาดที่จะถ่ายรูปไว้ครับ ฉากเรือไม้บนพื้นทรายกับแสงสีทองก็สวยไปอีกแบบครับ
มีเต่าตัวใหญ่อยู่ในน้ำ ผมอยากไปถ่ายรูปกับเต่าหินซะหน่อย ซึ่งก็ไม่ลำบากมากครับ(แต่ต้องยกเสื้อขึ้นเหนือยอดอกหน่อย เดี๋ยวเปียกครับ) ส่วนช่วงล่าง เป็นคนขี้เกียจครับ ยังใส่ Wetsuit อยู่เลย 555
บนเกาะมีทีวีจอยักษ์ ค่อนข้างเยอะครับ คืนวันเสาร์แบบนี้ เป็นอื่นไปไม่ได้นอกจาก ฟุตบอล Primier league กำลังถ่ายคู่ Liverpool VS Sunderland อยู่เลยครับ
ขากลับผมสักการะศาลเจ้าพ่อเกาะเจริญ เพื่อความเป็นศิริมงคล ก่อนที่จะเดินเลยจุดนัดพบไปนิดหน่อย(มันมืดครับ) ต้องสอบถามชาวบ้านบนเกาะเล็กน้อย
พี่โหน่งหายไปครับ คาดว่าน่าจะอยู่กับพี่ปอ พี่โจและคุณนิคกี้ เดี๋ยวถึงเรือ เราจะลองติดต่อคุณนิคกี้ทางวิทยุสื่อสาร
บนเรือแทบไม่เหลือ Diver เลยครับ(เหลือแค่พี่สมบูรณ์กับครูตั้มเท่านั้นเอง) ส่วนใหญ่ออกเดินเล่นบนเกาะเต่ากันหมด( โอกาสแบบนี้หาไม่ได้ง่ายๆนะครับ ใช่ว่าทุกลำซะเมื่อไร จะให้ขึ้นเกาะ)
ผมใช้เวลาที่เรือปลอดคนแบบนี้ ถ่ายรูปบนเรือบางจุด กับนั่งเขียน log book เปิดหนังสือปลาดูว่า เจออะไรมาบ้าง
ในที่สุดก็เจอพี่โหน่ง(ก็อยู่กับพี่ปอ พี่โจและคุณนิคกี้ นั่นแหละครับ)
เมื่อทุกคนมากันครบ เรือโชคทวีจึงออกเดินทางไปบริเวณอ่าวแห่งหนึ่ง ใกล้หินเด่น เกาะนางยวน จุดที่จะทำ Night Dive ในคืนนี้ ผมยืมไฟฉายของพี่ปุ๊ยมาใช้เพราะแกไม่ได้ลง (คนลงเป็นส่วนน้อยครับ ส่วนใหญ่ไม่ได้ลงกัน อาจเป็นเพราะเริ่มที่จะดื่มน้ำเปลี่ยนนิสัยกันแล้วครับ 555)
Dive 4 ทักทายเพื่อนเก่าชื่อ กุ้งตัวยาว ตอน Night Dive!!!
หลังจากนั่งดิงกี้ออกไป เราทำท่า Back row ลงสู่น้ำ Dive site ที่นี่ ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นทรายครับ มีกอปะการังอยู่บ้างแต่ไม่มาก ไม่นานนักผมเจอปูเสฉวนตัวหนึ่ง หลังจากมาเปิดหนังสือดู เขาคือ ปูเสฉวนยักษ์(White-spotted hermit crab) จุดสังเกต คือ พบตามพื้นทรายและก้อนปะการัง อยู่ในเปลือกหอยที่มีช่องเปิดกว้างและจุดสีขาวที่มีอยู่ตามตัวครับ
จากนั้นเจอปูขนาดเล็กอีกตัว บริเวณพื้นทราย จำรายละเอียดได้ไม่มากนักครับ
พี่ป้อมเรียกให้ดูที่แส้ทะเลกอนึง ตอนแรกไม่เห็นมีอะไร พอดูชัดๆ นี่ คือ กุ้งตัวยาว(Sawblade shrimp) หนึ่งในสุดยอดกุ้งที่นักดำน้ำปรารถนาที่จะเห็น เพราะหายาก แต่ดูได้นานไม่ค่อยหนีไปไหน(หนีไป พวกเขาก็มีชีวิตอยู่ไม่ได้ เพราะอาศัยบนปะการังดำแบบเส้น(แส้ทะเล)และปะการังดำแบบพุ่มเท่านั้นครับ ฉะนั้นอย่าแกล้งไล่เขาไปที่อื่นนะครับ)
นี่เป็นครั้งที่ 2 ที่ผมได้พบเขาครับ หลังจากเจอที่เกาะง่ามน้อย สมัยมาเรียนดำน้ำเมื่อหลายปีก่อน เจ้าตัวนี้เล็กมากครับ ขนาดไม่เกิน 5 ซม(ต้องเพ่งดีๆครับ เล็กจริงๆ) แถมเป็นการเจอตอน Night dive ซะด้วย สุดยอดจริงๆครับ
นอกนั้นที่เจอส่วนใหญ่ก็เป็นปลากระรอกลายแดง(Red coat )และปลาแพะ(Goat fish)
ช่วงทำ safety stop ผมเคาะแท๊งค์ให้ทุกคนมารวมกัน อาจดูหนวกหูแต่ผมเจตนาดีครับ กลัวคนอื่นจะมาไม่ครบ เพราะการดำแบบ Night dive ยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษครับ
เราเกาะดิงกี้ จนมาถึงเรือ ผมแหงนหน้าดูท้องฟ้าตลอดทาง สำหรับผม การดำน้ำแบบ Night dive แม้จะมืด มีเพียงแสงไฟฉาย แต่เย้ายวนใจผมตลอดเวลาๆครับ
บนเรือมี UBC ด้วยครับ แปลกแต่จริง เลยได้อานิสสงฆ์ ดูบอลคู่ Arsenal VS Manchester city เล็กๆ น้อยๆ อาร์เซนอลชนะด้วย ก็เฮซิครับ
5 ทุ่มกว่าแล้ว ผมพึ่งจะได้ทานข้าวเย็นเอง วันนี้มีกุ้งเผา ปลาหมึกและปลาเผา ต้มยำกุ้ง ข้าวผัดปู จากนั้นก็เปิดหนังสือดูปลา จด log book คุยกับพี่ๆ นานพอสมควรครับ เพราะยังไม่ง่วงนอนเลย
เมื่อสมาชิกเริ่มหาย ก็แยกย้ายกันไปนอนครับ พรุ่งนี้ยังมีการดำน้ำที่กองชุมพร อีกหนึ่งจุดดำน้ำยอดฮิตในเวลานี้ รอเราอยู่ครับ
26 สิงหาคม 2550
เช้านี้ทานแค่ผลไม้รองท้องก่อนครับ ที่กองชุมพร(Chumporn Pinacle)เรือเยอะแบบที่ครูโก้ว่าไว้จริงๆครับ(ที่เห็นก็ 4 ลำแล้วครับ)
ความลึกสูงสุดอยู่ที่ 30 เมตรครับ จุดเด่นอยู่ Bull Shark ฉลามที่ทุกคนอยากจะเห็น(ถามว่าเป็นฉลามกินเนื้อใช่ไหม ตอบว่า ใช่ครับ) แต่เราไม่ทำร้ายเขา เขาก็ไม่ทำอะไรเราหรอกครับ อีกอย่างการเห็นฉลามที่เมืองไทย เดี๋ยวนี้ไม่ง่ายนักเพราะมักจะถูกจับไปทำหูฉลามหมด Bull Shark จึงมีค่ามากสำหรับวงการดำน้ำบ้านเรา สร้างรายได้ให้ประเทศอีกบานตะไทเลยครับ นอกจากนี้ก็ยังมีฝูงปลาหูช้างและฝูงปลาสากที่เราอาจจะได้เห็นกันครับ
ในวันนี้ กลุ่มผมได้ลงเป็นชุดแรกด้วย ผมว่าโชคดีมากๆครับ (ถึงก่อนมีสิทธิก่อนเจ้า)
Dive 5 ผมเจอ Bull Shark ครับ!!!
กองชุมพร น้ำใสจริงๆครับ ปลาเยอะอย่างที่ได้ยินมาด้วย ฉลามตัวหนึ่งว่ายผ่านข้างๆผม ในแนวดิ่งประมาณ 45 องศา ชัดเจนครับ เขาคือ Bull Shark หรือฉลามกระทิง(คนไทยจะเรียกว่าฉลามหัวบาตรครับ) อยู่ในแม่น้ำก็ได้นะครับ เมืองไทยจะพบในแม่น้ำโขง แปลกแต่จริงนะ
จากการที่ผมดูรูปในเว็บwww.scubazoom.com อยู่หลายสิบครั้ง ก็ค่อนข้างมั่นใจครับ ผมอยากนำคำพูดของพี่นัท สุมนเตมีย์มาลงไว้ เกี่ยวกับ Bull Shark ครับ
“มีข้อสงสัยหลายข้อเกี่ยวกับ bull shark ที่กองหินชุมพร หลายคนว่าเป็น grey reef อ้วนๆ หลายคนว่าเป็น bull shark หรือที่คนไทยเรียกกันว่าฉลามหัวบาตร(เพราะว่าหัวมันป้านๆคล้ายบาตรพระ) แต่ที่แน่ Bull shark กับ grey reef รูปร่างต่างกันเหมือนเขาทราย กาแลคซี่ กับไมค์ ไทสัน
สังเกตได้ว่า grey reef shark หัวของมันจะแหลมมาก จนทำให้ชาวประมงบางคนเรียกมันว่า "หัวแหลม" นอกเหนือไปจาก "หัวบาตร" และ "หัวค้อน" grey reef shark เป็นฉลามสามัญประจำ reef ทั่วโลก หลายๆที่มีเป็นฝูงๆ ราวกับยุง
มาดู bullshit เอ้ย bull shark ของเรากันบ้าง ข้อแรก หัวป้านกว่า ข้อที่สองครีบหลังเป็นกระโดงรูปสามเหลี่ยมมุมป้านกว่า ข้อสามแหล่งอาศัยชอบอยู่ในพื่นที่ที่มีความเค็มของน้ำต่ำ (ลืมบอกไปว่า Grey reef shark ชอบอาศัยอยู่ตาม Atoll กลางทะเล)
ลืมบอกไปว่า อ้วนกว่าด้วย
bull shark สามารถปรับตัวเข้าไปอาศัยในน้ำจืดได้ และรายงานการโจมตีหลายๆครั้งพบในแม่น้ำสายใหญ่ๆที่เชื่อมกันกับทะเล เช่น แม่น้ำ Zambezi ใน South africa ฉลามหัวบาตร กินอาหารหลายชนิดตั้งแต่ปลาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะปลากระเบน และฉลามขนาดเล็ก(รวมทั้งพวกเดียวกันเอง) ปลาหมึกชนิดต่างๆ เม่นทะเล ยังไม่มีรายงานว่าโจมตี นักดำน้ำแบบ scuba (แต่ข้อมูลนานแล้วนะ)
ข้อสงสัยสุดท้ายว่าทำไม bull shark ที่กองชุมพรมีโคนหางสีดำ ตอบง่ายๆครับ ตัวที่มีสีดำแต้มที่โคนหางและปลายครีบเป็นตัวยังโตไม่เต็มวัย ฉะนั้น Bull shark ที่ชุมพรหลายๆตัวยังเป็นน้องเด็กอยู่ เมื่อโตเต็มที่พี่ Bull shark อาจโตได้ถึงเกือบ 4 เมตรครับ สรุปว่าผมเชื่อว่าเป็น bull shark ครับและฉลามฝูงนี้มีคุณค่าต่อเกาะเต่า และประเทศไทยมากๆ เพราะ Bull shark ไม่ใช่ bullshit ที่เป็นฉลามโหลๆเหมือนกับ white tip reef shark หรือ grey reef shark ทรัพยากรอันทรงคุณค่านี้ควรจะอยู่คู่ท้องทะเลไทยไปนานๆ”
ผมเคาะ pointer เรียกทุกคน แต่ Bull shark ว่ายไปเร็วมากครับ เหมือนจะมาทักทายเฉยๆ
ที่ผิวน้ำ ผมเห็นปลาหมอทะเล(Giant Grouper) ตัวใหญ่และอ้วนพี เป็นครั้งแรกเช่นเดียวกันครับ ที่ผมได้เห็นปลาหมอทะเลตัวเป็นๆใต้น้ำ หลังจากเคยเห็นแต่ในร้านข้าวต้ม อีกอย่าง ปลาหมอทะเลก็ถือเป็นปลาที่หาดูยากเหมือนกันครับ เพราะโดนตกไปซะเยอะแล้ว
จากนั้น ด้านซ้ายมือของผม Bull shark 2 ตัว ว่ายผ่านไป อย่างเร็วเช่นเดียวกันครับ(ไม่ใช่อย่างแรงนะ) มองเห็นเหาฉลาม(Shark Sucker) เกาะตึดหนึบเลยครับ
ไม่นานนัก ด้านล่างของผมก็พบ ปลาหมอทะเล(Giant Grouper) อีก 2 ตัว รูปร่างใหญ่กว่าเดิมอีกครับ น่าจะเข้าไปกอดเล่นซักตัว(คงจะทันอยู่หรอกนะ55 ล้อเล่นครับ แกล้งสัตว์ทะเล ไม่ดีครับ)
ฝูงปลาหูช้างครีบยาว(Teira Batfish) ออกมาทักทาย ปลาหูช้างประเภทนี้ ขี้เล่น พบได้บ่อยในฝั่งอ่าวไทย สังเกตที่ครีบท้องมีสีเหลืองครับ นอกจากนี้ ผมกวาดสายตาไปอีกด้านหนึ่ง พบตัวที่มีครีบท้องสีดำ เลยไม่แน่ใจว่าจะเป็น ปลาค้างคาว(Pinnate Batfish) ที่พบบ่อยในฝั่งอันดามันหรือไม่
ฝูงปลามงตาโต(Bigeye Trevally) อยู่ด้านขวามือผม แม้จะไม่มากเท่าที่หินใบ แต่น้ำที่ใสกว่า เห็นในระยะที่ใกล้กว่า ทำให้ผมทึ่งกลับกำแพงสีน้ำเงินนี้จริงๆครับ
ยังไม่หมดครับ ปลาสากหางเหลือง(Yellow-tail Baracuda) หลายฝูง ฝูงละประมาณ 20 ตัวขึ้นไป ออกมาปรากฎตัว ผมมีความสุขจริงๆครับ ปลาเยอะดี
ผ่านแนวปะการัง ผมเห็นปลาไหลมอเรย์ตาขาว(Greyface moray) ยื่นหน้าออกมา ฟันยังคมเหมือนเดิมเลยครับ(ฟันทู่ก็ไม่ใช่มอเรย์ซิเว้ย ไอ้น้อง)
นอกจากนั้นก็จะมี ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง(Pink Anemonefish) ปลาสลิดหินสามจุด(Three-spot Dascyllus) ปลากระรอกลายแดง(Red coat ) ปลาผีเสื้อเหลืองชุมพร(Weibel ‘ s Butterflyfish) ปลาเก๋าหน้าแดง(Black-tipped grouper) และปลาโนรี(Longfin Bannerfish) ครับ
หลังทานอาหารเช้า ผมไม่ลืมที่จะทานแอดติเฟดและหามุม(เดิม) นอนหลับตามระเบียบครับ(ไม่ใช่จับได้โดยละม่อมนะ)
0 Comments:
Post a Comment
<< Home