ปิดฤดูกาลอ่าวไทยที่…ร้านเป็ด ร้านไก่(2)
Dive 1 ดำน้ำแบบชิวชิวที่ร้านไก่!!
น่าแปลกครับ ปกติไดฟ์แรก ผมจะไม่ค่อยสดชื่นเท่าที่ควรและมีปัญหาเรื่องการเคลียร์หูอยู่บ้าง แต่ครั้งนี้ไม่ครับ ลงได้อย่างสบายๆ อาจเป็นเพราะผมรู้ดีกว่า ทะเลชุมพร ระดับน้ำไม่ลึกเท่าไรด้วยล่ะ
น่าแปลกครับ ปกติไดฟ์แรก ผมจะไม่ค่อยสดชื่นเท่าที่ควรและมีปัญหาเรื่องการเคลียร์หูอยู่บ้าง แต่ครั้งนี้ไม่ครับ ลงได้อย่างสบายๆ อาจเป็นเพราะผมรู้ดีกว่า ทะเลชุมพร ระดับน้ำไม่ลึกเท่าไรด้วยล่ะ
ทัศนวิสัยค่อนข้างดีครับ มองเห็นได้ชัด เจ้าปลาการ์ตูนอินเดียนแดง(Pink Anemonefish) แอบซ่อนอยู่ในดอกไม้ทะเล สายตาแอบมองโดยรับรู้ว่า มีผู้มาเยือนเข้ามาที่บ้านของมันแล้ว แต่ตราบใดที่เรายังไม่ลุกล้ำเข้าไปในเขตหวงห้าม พวกเขาก็ยังไม่หนีเข้าไปหรอกครับ(เรียกว่าดูเชิงก่อน 555)
หากใครอยากทราบว่า เจ้าปลาการ์ตูนอินเดียนแดง น่ารักตรงไหน ก็ลองจ้องหน้าพวกเขาดูครับ แล้วจะมองเห็นอย่างที่ผมเห็นแน่นอน(อารมณ์ว่ามองหน้าสาวๆ น่ะครับ 555)
ต่อไป เรามาดูปลาที่มีความหลากหลายที่สุดในแนวปะการังอย่างปลาสลิดหินดูบ้าง เริ่มจากปลาสลิดหินคอดำ(Indian Dascyllus) ลักษณะเด่น คือ ลำตัวสีขาว มีแถบสีดำพาดขวาง ต่อด้วยปลาสลิดหินสามจุด(Three-spot Dascyllus) วัยเด็กมีลำตัวสีดำ มีจุดสีขาวสามจุด เมื่อโตขึ้นลำตัวจะเปลี่ยนเป็นสีที่จางลง เช่นเดียวกับจุดสีขาวที่น้อยลงไปด้วย อีกชนิด คือ ปลาสลิดหินลายเสือ(White Damsel) ที่ลำตัวมีสีเหลืองสลับดำ แต่ปลาในวัยเด็กค่อนข้างที่จะเหมือนลายเสือมากกว่าครับ
ทางด้านปลาผีเสื้อ เจ้าบ้านอย่างปลาผีเสื้อเหลืองชุมพร(Weibel ’ s Butterflyfish) มีลายสีเหลืองสดที่ลำตัว และมีขีดสีดำและสีขาวบริเวณตา ตัดลงมาเป็นเส้นตรง ที่ผมเคยเล่าให้ฟัง ทุกๆครั้งที่ลงดำน้ำในทะเลแถบนี้ รับประกันได้ว่าต้องเจอ น่าภูมิใจที่มีในทะเลแถบเอเชียเท่านั้น
อีกตัวที่คุ้นตากันดี เพราะพบได้บ่อยมากๆที่ทะเลพัทยาและระยอง คือ ปลาผีเสื้อแปดขีด(Eight-banded Butterflyfish) ลำตัวมีสีเหลือง มีลายสีดำขวางลำตัว นับได้แปดขีดครับ
พี่วิลลี่เคาะแท๊งค์ให้ดูปลาชนิดหนึ่งที่อยู่ด้านล่างครับ รูปร่างแบบนี้ ก็ปลาสิงโต(Common Lionfish) แน่นอนครับ ผมมั่นใจว่าทุกคนก็รู้จักเป็นอย่างดี
ระหว่างดำน้ำลัดเลาะไปเรื่อยๆ ฝูงปลาข้างเหลืองเยอะจริงๆ มีอยู่สองชนิด หนึ่งในนั้น ก็คือ ฝูงปลากล้วยหลังเหลือง(Yellowtop Fusilier) มีสีฟ้าสลับกับสีเหลือง เห็นปลาเยอะแบบนี้ ใครๆก็ชอบครับ
ปลาสินสมุทรวงฟ้า(Bluering Angelfish) ซึ่งมาเป็นคู่ ว่ายผ่านไป จุดเด่นคือลายสีน้ำเงินที่พาดผ่านลำตัวเป็นวงสีฟ้า เจอทีไรก็มาเป็นคู่ครับ(รักกันดี)
ปลาโนรีครีบยาว(Longfin Bannerfish) ที่หลายๆคนคุ้นตากันดี ก็มีให้เห็นเช่นกัน
มาว่ากันที่เรื่องทากกันบ้าง ไม่พูดคงไม่ได้เพราะหลายๆคนชอบจริงๆ ที่นี่ ผมเจอทากปุ่มที่ชื่อว่า Phyllidia varicosa มีตุ่มสีเหลือง ส่วนช่องว่างมีสีฟ้าสลับเทา ถ้าไม่นับว่าตัวนี้พบง่ายกว่าแล้ว ค่อนข้างที่จะแยกความแตกต่างกับ ทากปุ่ม Fryeria picta ยากมากๆ
ตามแนวปะการัง ผมมองเห็นเพรียงหัวหอม(Sea Squirt)และหนอนทะเล(Worms)เป็นจำนวนมาก และสายตาก็กวาดไปเจอสิ่งที่น่าเศร้าบนแนวปะการัง คือ ซากศพของปลาปักเป้าหนามทุเรียน(Black Blotched Porcupinefish)ที่พองตัวจนมีแต่หนาม แต่สิ้นลมหายใจไปแล้ว ใกล้ๆ ผมเจออวนอีกจำนวนหนึ่ง พยายามที่จะดึงออกมา แต่ค่อนข้างติดแน่นครับ แถมยังหนาซะอีก จึงจำใจที่จะต้องปล่อยอวนไป(ทะเลชุมพร จะมีพวกมักง่ายเยอะมากๆ ใครไปดำน้ำ ขอความกรุณาช่วยตัดอวนกันนะครับ จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง)
พี่วิลลี่พาเรามายังที่ตื้น ซึ่งผมคิดว่าดีมาก เพราะระหว่างที่เราดำในที่ตื้น จะทำ Safety stop ไปในตัว ไม่ต้องใช้ไส้กรอกสัญญาน(Sausage) หากมองดูทางสะดวกก็ขึ้นได้(แต่ถ้าหากเป็นบริเวณที่เรือเยอะอย่างพัทยา ควรใช้ Sausage ทุกครั้งนะครับ)
แม้จะลอยก่อนขึ้นเล็กน้อย โดยรวมแล้ว ดำน้ำค่อนข้างสบาย เพราะน้ำไม่ลึกเท่าไรครับ
ขึ้นมาด้านบน อาหารเช้ามีข้าวผัดกุนเชียง ไส้กรอกและไข่ดาว พี่หมอหมูเล่าถึงความรู้สึกในไดฟ์ที่แล้วให้ฟังว่าน้ำค่อนข้างใส มีปะการังดำหลากสีไปหมด(ปะการังดำมีแกนด้านในเป็นสีดำครับ ส่วนด้านนอกมีหลายสีนะ เช่นสีแดง สีขาว สีทอง เป็นต้น)
แกเป็นคนสนุกสนานมากครับ ไม่แปลกใจที่แป๊บเดียว พี่ป้อมกับพี่พิชจะเข้ามาร่วมรับฟังด้วย จากนั้นเสียงหัวเราะก็ตามมา นอกจากนี้พี่ปุ่นกับนุ๊กก็ยังเล่าเรื่องสนุกๆให้ฟังอีกหลายเรื่องด้วย
ปกติเวลาพักไดฟ์ ผมมักจะนอนหลับแต่ในตอนนี้ยังสดชื่นดีครับ ส่วนสมาชิกคนอื่นๆ หลายๆคนเลือกที่จะนอนหลับ หลายๆคนเลือกที่อ่านหนังสือ หลายๆคนเลือกที่จะนั่งเล่นกิจกรรมทดสอบปัญญาอย่างไพ่สล๊าฟ ในขณะที่อีกหลายๆคน เลือกที่จะนั่งคุยกันมากกว่า
ไดฟ์ต่อไปเราจะลงดำน้ำกันที่ร้านเป็ดครับ ผมถามพี่แจ้ว่า ทำไมถึงเรียกว่า ร้านเป็ด ร้านไก่ ซึ่งพี่แจ้เล่าให้ฟังว่า อาจเป็นเพราะรูปร่างของเกาะที่เหมือนเป็ด เหมือนไก่(หากมองจากทางทิศตะวันออก) ส่วนคำว่า “ร้าน” นั้น อาจเกี่ยวข้องกับเล้าเป็ด เล้าไก่ หรือเกี่ยวกับ รางเป็ด รางไก่ก็เป็นได้(ที่ใช้เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่น่ะครับ)
ผมขอยืมกล้องพี่โหน่งมาถ่ายครับ ปกติจะแค่ยืมมาถ่ายตอนอยู่ใต้น้ำแล้วคืนทันที แต่คราวนี้ผมอยากทดสอบให้นานขึ้นด้วยโดยการนำลงไปตั้งแต่ต้น เนื่องจากมีความคิดอยากจะซื้อกล้องใหม่พร้อม Housing(กล้องที่ใช้อยู่มี Function น้อย แถมเป็นรุ่นเก่ามาก หา Housing ก็ยากด้วยครับ เก็บไว้ถ่ายบนบกก็พอ) สำหรับการถ่ายภาพใต้น้ำแม้การมีพื้นฐานในการถ่ายภาพบนบกจะช่วยในการถ่ายภาพใต้น้ำได้ดีขึ้น แต่ผมกลับอยากจะฝึกถ่ายภาพใต้น้ำอย่างเดียวโดยไม่ค่อยสนใจการถ่ายภาพบนบกเท่าไรนัก ไม่รู้จะทำแบบนั้นได้หรือเปล่าครับ 555)
จำได้ว่าก่อนลง ควรฝากกล้องไว้กับ Staff เรือไว้ ตอนกระโดดลงน้ำค่อยขอให้เขาส่งให้เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวกล้อง แต่พี่ๆ หลายๆคนบอกว่าช่วงกระโดดลงไป ให้ชูกล้องขึ้นเหนือศีรษะก็พอ(ถ้าเป็นกล้องตัวใหญ่แบบของพี่หมอหมู ทำไม่ได้แน่ๆครับ 555)
Dive 2 ยืมกล้อง(ของชาวบ้าน)มาถ่ายครึ่งไดฟ์!!
น้ำขุ่นกว่าไดฟ์ที่แล้วครับ ตรงจุดที่ลงมาเห็นพี่ป๊อกกี้(ไม่ก็พี่หมีนี่แหละครับ) กำลัง Landing บนพื้นทราย ถ่ายรูปอะไรซักอย่างบนแส้ทะเล แต่ผมไม่ได้เข้าไปดู กลัวไปรบกวนช่างภาพ(มาทราบภายหลังว่า คือ กุ้งตัวยาว ครับ) โชคดีนะเนี่ย ที่ผมเคยเห็นมาบ้างแล้ว 55
เริ่มถ่ายรูปเลยดีกว่า ยังไม่ค่อยคุ้นเท่าไรครับ เคลื่อนไหวยากมาก พอมีกล้องแบบนี้ นอกจากต้อง ควบคุมดูแลตัวเองให้ดีแล้ว ผมยังต้องระมัดระวังกล้องให้ดีด้วย(ตกไปคงยุ่งแน่ครับ) ต้องทำความคุ้นเคยให้มาก เพราะมือเคยว่างมาตลอดหรือเต็มที่ก็มีแค่ Pointer หากเป็นการดำน้ำในเวลากลางคืน ก็มีไฟฉายเพิ่มขึ้นมา
สิ่งที่เริ่มถ่าย คือ มนุษย์กบครับ ต่อด้วย ปลาผีเสื้อเหลืองชุมพร(Weibel ’ s Butterflyfish) ฝูงปลาข้างเหลือง ซึ่งต้องถ่ายยากอยู่แล้วครับเพราะปลาไม่ได้อยู่นิ่งอยู่กับที่ ผมลงไปก็พยายามเล็งและกด Shutter อย่างเดียว ไม่ทันได้ปรับโหมดอะไรหรอกครับ(ปรับยังไม่เป็นอยู่ดี)
จริงๆ การเริ่มต้นถ่ายภาพใต้น้ำ ควรเริ่มจาก ปะการังหรือสัตว์ทะเลชนิดไหนก็ตามที่อยู่นิ่งๆกับที่ก่อนครับ จากนั้นค่อยพัฒนาไปเรื่อย(พี่ป๊อคกี้เคยเล่าให้ฟังแบบติดตลกๆ ว่า พวกที่มีกล้องตัวใหญ่ ลงไปใต้น้ำ พอไม่มีกล้องให้ถือ ถึงกับเสียศูนย์ ดำน้ำไม่เป็นเลยล่ะ 55)
ผมเจอทากปุ่มที่ชื่อว่า Phyllidia varicose อยู่นิ่งแบบนี้เหมาะกับมือใหม่มากๆ และยังเจอปลาแมงป่องเกล็ดเล็ก(Tassled Scorpionfish) อีกด้วย แต่ต้องระวังครับเพราะพวกเขามีพิษ อาจจะเผลอไปโดนอย่างไม่ตั้งใจก็ได้(เดี๋ยวปลาแมงป่องก็บอกว่า ผมก็โดนคุณอย่างไม่ตั้งใจเหมือนกัน ก็ฮาซิครับ แบบนี้ 55) นั่นแหละครับ การถ่ายภาพใต้น้ำสำคัญมากๆ คือ ต้องรบกวนสัตว์ทะเลให้น้อยที่สุด เวลา Landing ต้อง Check ดีๆ ว่ามีปะการังอยู่หรือไม่
ดำต่อไปเรื่อยๆ มีดงดอกไม้ทะเลและปลาการ์ตูนอินเดียนแดงมากจริงๆครับ (Sea Anemone and Pink Anemonefish) ใกล้ๆก็ยังมีดอกไม้ทะเลรูปร่างคล้ายหมอนอันเป็นที่อยู่เจ้าประจำของปลาสลิดหินสามจุด(Three-spot Dascyllus) ผมไม่พลาดที่จะถ่ายภาพออกมา แต่มั่นใจว่าแย่แน่นอนเพราะอย่างที่บอกว่า ปลาไม่ได้อยู่นิ่งนะครับ 55
ผมส่งกล้อง คืนพี่โหน่งเพราะได้ทดลองจนทราบดีแล้ว ต่อไปนี้คงต้องทำความคุ้นเคยให้ดี จากนี้ไปผมจะได้มีภาพมาโชว์ทุกท่านได้(คิดว่าก่อนปีใหม่น่าจะได้มีโอกาสครอบครองเป็นเจ้าของครับ)
กลับมาตัวเบาอีกครั้ง เราดำจากลึกมาตื้นและทำ Safety stop อีกครั้ง แม้จะพยายามปล่อยลมออกจาก BCD แล้วก็ตาม แต่ตัวก็ยังลอยขึ้นไปเล็กน้อยครับ อาจเป็นสาเหตุที่ทำคลื่นไส้ทั้งใต้น้ำและบนบกก็ได้มั้ง
ขึ้นมาด้านบน พี่วิลลี่บอกว่า ไดฟ์หน้าให้ผมใส่ตะกั่วเพิ่มอีกหนึ่งก้อน แต่ผมขอโอกาสอีกที “ผมมั่นใจ ผมทำได้”(เอ้ย ไม่ใช่ ชูวิทย์ 55) นั่นแหละครับ ผมเปลี่ยนเข็มขัดตะกั่วเส้นใหม่ แทนเส้นเก่าที่ยาวมากๆ ถ้ารัดคอก็ได้สองรอบแน่ะ 55 จัดตะกั่วให้เท่าๆกัน เวลารัดจะได้ Balance แต่ตะกั่วยังใช้เท่าเดิม ผมไม่อยากเพิ่มตะกั่วไปมากกว่านี้แล้วครับ
ข้าวเที่ยง มีทะเลผัดผงกระหรี่ ต้มยำทะเล ปลาอินทรีทอด แตงโมและสัปปะรด เหมือนเดิมครับ ผมไม่ทานเยอะหรอก เวลาดำน้ำเอาเฉพาะมื้อเย็นอย่างเดียว(ที่จะเห็นตัวตนของเครื่องสูบอาหารที่แท้จริง 55)
ไดฟ์หน้าเราจะดำน้ำกันที่กองหินสามเหลี่ยมครับ ผมตั้งใจว่าอาจจะไม่ลง(ภาษาดำน้ำเรียกว่า Skip Dive) เพราะมึนหัวอยู่บ้าง หลังจากที่คุยกับเพื่อนๆเสร็จแล้ว ผมหาที่นอนดีกว่าครับ เผื่อจะดีขึ้น
1 Comments:
1 ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง(Pink Anemonefish) ขอขอบคุณ พี่หมี www.optionm.multiply.com
2 ปลาสลิดหินคอดำ(Indian Dascyllus) ขอขอบคุณ http://www.senckenberg.de/i
3 ปลาสิงโต(Common Lionfish) ขอขอบคุณ พี่เอ ที่ www.a1visual.multiply.com
4 ปลากล้วยหลังเหลือง(Yellowtop Fusilier) ขอขอบคุณ http://farm2.static.flickr.com/
5 ปลาสินสมุทรวงฟ้า(Bluering Angelfish) ขอขอบคุณ http://www.gsohns.org/
6 ปลาผีเสื้อเหลืองชุมพร(Weibel ’ s Butterflyfish) ขอขอบคุณ พี่หมี www.optionm.multiply.com
7 ทากปุ่มที่ชื่อว่า Phyllidia varicose ขอขอบคุณ ขอขอบคุณ พี่หมี www.optionm.multiply.com
8 ปลาสลิดหินสามจุด(Three-spot Dascyllus) ขอขอบคุณ http://i.pbase.com
Post a Comment
<< Home