อันดามันเหนือ….สวรรค์แห่งการดำน้ำ(3)
http://www.julianrocks.net/
http://www.starfish.ch/ http://animal-world.com/
Dive 3 ปลาสากยักษ์ แค่มองเขี้ยวก็กลัวแล้ว!!!
สบายมากครับ หลังจากทานแอคติเฟดเข้าไป เคลียร์หูได้อย่างดีเยี่ยม(ผมขอตั้งชื่อว่า ยาบ้า สำหรับผมก็แล้วกัน 555)
ที่นี่แม้จะมีตะกอนบ้าง แต่ระดับความใสของน้ำก็หลาย10 เมตร อยู่ดี 2 ปลาวัวอย่าง เจ้าปลาวัวดำ(Blue durgon) ตัวนี้ผมคุ้นเคยดีครับ เพราะปีที่แล้วเห็นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์จนจำได้ อีกชนิด คือ ปลาวัวหางพัด(Scrawled Leatherjacket) ก็ออกมาทักทาย ปลาวัวหางพัดสามารถกางครีบออกได้เหมือนพัด หลายคนอาจสงสัยว่า นายภพเอ้ย ปลาวัวมัน Triggerfish ไม่ใช่เหรอ 555 ถูกต้องครับ อย่าลืมว่าปลาวัวมีหลายสกุลนะ(คนจีน ยังมีหลายแซ่เลยครับ จริงไหมล่ะ)
ดวงตาเหมือนแบลคโฮ(ผมตั้งจากที่สังเกตเห็นเองน่ะ 55) คือ ปลาปักเป้าจุดฟ้า(Bluespotted Puffer) เนื่องจากเขาว่ายช้า ผมเลยมีเวลาสังเกตครับ อีกชนิดก็เป็นปลาปักเป้าหน้าหมา(Blackspotted Puffer) ที่พบได้บ่อยอยู่แล้ว
ที่กลางน้ำ ปลาสากยักษ์(Great Baracuda)ลอยตัวนิ่งๆ อยู่ตัวเดียวครับ เขี้ยวที่โผล่ออกมานนอกปากดูแล้ว ขนพองสยองเกล้าดีแท้(จะซัดนักดำน้ำไหมเนี่ย) ปกติไม่เป็นอันตรายครับแต่จะจู่โจมเมื่อเห็นวัตถุสะท้อนแสง(จะลองดูก็ได้ครับ ผมยังอยากดำน้ำอีกนานนะ 555) เขี้ยวคมๆแบบนี้ ไม่ต้องสงสัยเลยครับว่าคมมากๆ ผมเคยดูสารคดีของเมืองนอก นักดำน้ำไปให้อาหารปลาสาก แค่เฉี่ยวๆ มือ เลือดยังออกเลยครับ
บางทีผมเหนื่อย ก็ใช่มือช่วยครับ จะได้เป็นท่ากบที่สมบูรณ์(ผมว่าไม่มีใครเขาทำกันหรอก ) จริงๆ เป็นข้ออ้างว่าเหนื่อยน่ะ 5555(ดีกว่าเป็นตะคริวครับ)
มาถึงจุดยอดฮิต แม้ผมไม่ได้มา 2 ปีแล้ว แต่เห็นก็จำได้ทันทีครับ เป็นจุดที่นักดำน้ำมารอดูเจ้ากระเบนราหู(Manta ray) ลักษณะเป็นผาหิน มองออกไปด้านนอกจะเป็นกลางน้ำ พี่ตามเขียนสเล๊ดบอร์ดให้ผมทราบว่า “Wait for Manta” เป็นอันรู้กันว่า ให้คอยดู ถ้าโชคดีก็เจอครับ เพราะกลางน้ำแบบนี้ มักจะมีมวลอาหาร เช่น แพลงตอน มากับกระแสน้ำ และแมนต้า ก็ชอบเสียด้วย
คอยดูซักพัก เขาไม่มาครับ เมื่อได้เวลาอันสมควร ทั้งความลึกและอากาศ เราจึงเปลี่ยนระดับไปที่ตื้นขึ้น พี่ตามดูเข็มทิศเพื่อที่จะได้กลับเรือให้ใกล้ที่สุด
ส่วนปลาอื่นๆ ในไดฟ์ไซด์นี้ ที่สังเกตเห็นได้ ก็มีปลาปากแตร(Trumpetfish) ปลาวัวไตตัน(Titan Triggerfish)ขนาดใหญ่ ปลาขี้ตังเบ็ด(Surseonfish) และปลาสลิดหิน(Damsel Fish)
อาหารว่างมีซาลาเปาไส้ครีม+หมูแดง ขนมจีบหมู+กุ้ง เติมพลังงานได้ดีเลยล่ะครับ อร่อยมากด้วย
ผมหาวิวถ่ายรูปเกาะบอน แต่ดันมีเรือมาบัง ต้องหาโอกาสเหมาะๆครับ ผมขึ้นไปบนดาดฟ้าเห็นเรือคายัคด้วยครับ(แหล่มเลยๆๆ)
พระอาทิตย์กำลังตกทะเล ดวงสีส้มแม้มีเมฆมาบังเล็กน้อยแต่ไม่เป็นอุปสรรคของช่างภาพครับ
นักดำน้ำหลายคนเริ่มอาบน้ำเพราะพวกเขาไม่ลงไนท์ไดฟ์(Night Dive) กัน หลายคนไม่ชอบครับ แต่สำหรับผมชอบมากๆเลยแหละ(เมื่อลงไปครั้งแรก จะบอกได้ทันทีครับ ว่าคุณชอบหรือไม่ชอบ)
Night Dive วันนี้ เราดำกันที่เกาะบอนครับ ไฟฉายผมได้มาจากพี่ป้อม (แกให้ยืมก่อน) พี่ตามก็อุตส่าห์ไปเอามาให้ด้วย ดีจริงๆ ลงดิงกี้(เรือยาง) แล้วไปกันดีกว่าครับ
Dive 4 ฮัลโหล หอยเขา!!!!
ใช้ท่า Back Row เอามือจับหน้ากากคาบเรคกูเลเตอร์ หงายหลัง แต่......(ผมลืมคาบเรคกูเลเตอร์ครับ 555) ไม่เป็นไร ไม่ได้กินน้ำทะเลเข้าไปเท่าไร โอเคครับ
ไฟฉายส่องหาสัตว์ทะเล ไม่นานนัก ผมก็พบกับหอยเขา Lamellaridae/Lamellarids(Coriocella Hibyae) 2 ปีก่อนที่ผมมาสิมิลัน ลงไนท์ไดฟ์ก็เจอหอยเขาครั้งแรกที่นี่ครับ ตอนแรกไม่รู้จักชื่อ พอตั้งกระทู้ถามพี่ Doris แห่งทะเลไทย จึงทราบคำตอบครับ(ผมรู้นะ จะพูดต่อว่าอะไร 5555)
หอยเขา เป็นชื่อไทยที่ตั้งกันเอง เป็นญาติกับหอยเบี้ยครับ ไม่ได้พบได้บ่อยๆ ที่พบก็มีที่เกาะสุรินทร์ จ. พังงา และเกาะเฮ จ. ภูเก็ต ลำตัวที่เป็นเนื้อจะห่อหุ้มเปลือกไว้หมด ที่นี่มีหอยเขาเยอะเลยครับ
ต่อจากนั้น เพื่อนซี้ผม ปลานกแก้ว(Parrot Fish) กำลังหลับอยู่ครับ เลยขอไปจูบ เอ้ย ไปทักทายนิดนึง แค่ลูบเบาๆน่ะครับ เขาก็ไม่ตื่นด้วยนะ
มีปูแต่งตัวอยู่บนก้อนหิน(Decorator Crab) (ปูแต่งตัวจะใช้ฟองน้ำมาติดตามร่างกาย เพื่อพรางตัว) ผมคุ้นเคยมาก เพราะพึ่งช่วยเหลือปูแต่งตัวออกจากอวนที่ระยอง เมื่อเดือนที่แล้ว ดีใจที่ได้เห็นพวกเขาไร้เครื่องพันธนาการครับ
เย้ย!!! นั่นมันปลาแมงป่องเกล็ดเล็กนี่นา(Tassled Scorpionfish) เป็นครั้งแรกที่ผมเจอเขาในการดำน้ำกลางคืน เคยแต่พบในเวลากลางวัน ต้องรักษาระยะห่างๆไว้ หากไปถูกอาจจะโดนพิษได้ครับ
นอกนั้นก็เป็นปลาปักเป้าหนามทุเรียน(Black Blotched Porcupinefish) และดาวขนนก(Feather Star) ที่มักจะคึกคักในยามรัตติกาลแบบนี้
ระหว่างขึ้น พี่ตามเรียกให้ผมดูกลุ่ม ผมมัวแต่มองดูพี่โหน่งอยู่(Leader ผม พี่ตามก็อยู่ใกล้ๆ) เลยไม่ได้มองคนอื่นเท่าไรนัก ขึ้นมาบนผิวน้ำเลยถูกบ่นเล็กน้อยครับว่า ต้องดูกลุ่มด้วย ว่าเขาขึ้นกัน (คราวหน้าจะระมัดระวังให้มากกว่านี้ครับ ขอบคุณมากพี่ )
พี่สายชลบอกให้ผมถอด BCD และตะกั่ว ผมบอกว่า ขอเกาะท้ายเรือไปได้ไหมพี่(ด้านข้างจะมีที่เกาะครับ) แกบอกว่าไกล ให้ขึ้นมา
ถูกต้องที่สุดครับ ระยะทางค่อนข้างไกลมาก ขืนไม่เชื่อพี่สายชล คงเหนื่อยแน่ครับ เพราะจุดที่ดิงกี้มารับ จนไปถึงเรือนั้น ผ่านเรือ Liveaboard อยู่หลายลำทีเดียว ไกลพอสมควรเลยล่ะ
อาบน้ำแต่งตัว เรียบร้อยแล้ว อาหารเย็นมี ข้าวสวย แกงจืดเต้าหู้หมูสับ ไก่ผัดขิง หน่อไม้ฝรั่งผัดกุ้ง น้ำพริก+ผักสด ตบท้ายด้วยผลไม้รวม เช่น แตงโม ฝรั่ง สาลี่ เป็นต้น
อย่างที่เคยเล่าให้ฟังว่า มา Liveaboard แบบนี้ ผมมักจะทานมื้อเย็นได้มากที่สุด เพราะกว่าจะลงไดฟ์ต่อไปก็วันรุ่งขึ้น(ไม่ต้องกลัวอาเจียนครับ 555) ไม่แปลกใจที่ว่า ผมเดินไปเติมอาหารบ่อยกว่าทุกมื้อ
ประมาณ 4 ทุ่ม พี่ตามนอนไปแล้ว(คนเป็น Leader ต้องคอยมองคนอื่น ผมว่าเหนื่อยกว่า Diver หลายเท่าครับ) ส่วนผมยังนั่งคุยอยู่กับพี่ๆ เพื่อนๆ นักดำน้ำอีกหลายคน ดื่มเบียร์ไปกระป๋องนึงครับ(นานๆที)
ท้ายสุดก็เหลือเพียง ผม ครูตุ๊กและ น้องเอ็ม เรานั่งคุยกันในหลายๆเรื่องๆ ไปๆมาๆ กลายเป็นว่า ต่างคนก็เล่าประสบการณ์ความรักของตัวเองซะอย่างงั้น ก็สนุกดีนะครับ แชร์ๆ ประสบการณ์กัน
อย่างไรก็ตาม ผมได้ความรู้หลายๆเรื่องจากครูตุ๊กและ เรื่องราวเกี่ยวกับวงการบันเทิงจากน้องเอ็ม (น้องเอ็มมีเพื่อนเป็นดาราและนางแบบเยอะน่ะครับ)
เราแยกย้ายกัน คืนนี้ ผมลองทานแอคติเฟดก่อนนอน(พี่ตามจะทานก่อนนอน ช่วยให้หลับสบายด้วยครับ) พรุ่งนี้อาจเคลียร์หูสบาย ผมอาจจะไม่ต้องทานก็ได้
30 ธันวาคม 2550
ได้ยินตั้งแต่เมื่อคืน ก่อนที่จะนอนว่า เรือจะออกช่วงดึกๆ เพื่อเดินทางมาที่กองหินริเชลิว ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
เช้านี้ ผมตื่นเวลาเดิมครับ เรือเกือบที่จะถึงกองหินริเชลิวแล้วล่ะ กินขนมปังรองท้องก่อนดีกว่า
เมื่อเรือมาถึงกองหินริเชลิว คุณเสรีเล่าให้ฟังถึงประวัติคร่าวๆ บางเรื่องผมเคยอ่านจากในหนังสือท่องเที่ยว ถือว่าฟังซ้ำอีกทีครับ
กลุ่มครูปรีชา บีและเอ็ม แต่งตัวลงไปรอในดิงกี้เรียบร้อยแล้วครับ กลุ่มนี้เขาเร็ว แรง สมกับเป็นกลุ่มแรกเลยทีเดียว
ว่าแล้ว อย่ารอช้าครับ กระโดดด้วยท่า Back Row ลงไปลุยกันเลยครับ
Dive 5 ใต้ทะเลมีปลาดุก!!!!
ริเชลิวน้ำยังคงใสไม่เปลี่ยนแปลง ปะการังอ่อนสีสวย มากจริงๆ ประดับประดาตามกองหิน เหมือนจัดไว้เพื่อต้อนรับเหล่ามนุษย์กบโดยเฉพาะ
ที่นี่ ผมพบกับปลาการ์ตูนถึง 4 ชนิด เริ่มจากปลาการ์ตูนส้มขาว(False Clown Anemonefish) หรือเจ้านีโมที่ทุกคนที่คุ้นเคยกัน เล่าคร่าวๆนิดนึงว่า สังคมปลาการ์ตูน ผู้หญิงเป็นใหญ่ครับ ตัวใหญ่เป็นตัวเมีย ตัวเล็กเป็นตัวผู้ ยามใดที่ตัวเมียตายไป(เหมือนหญิงชรา ที่มักมีคนบอกว่า ยิ่งแก่ ยิ่งตายยาก เกี่ยวกันไหมเนี่ย 555) ตัวเล็กที่เป็นตัวผู้ก็จะกลายเป็นตัวใหญ่และเป็นตัวเมียแทน นั่นก็หมายความว่า 2 เพศในร่างเดียว ปลาการ์ตูนเป็นกระเทยครับ เหมือนกับสัตว์ทะเลอีกหลายชนิดที่มีวงจรชีวิตแบบนี้
ต่อด้วยปลาการ์ตูนอินเดียน(Skunk Anemonefish) ที่คนมักเข้าใจผิดว่า เป็นปลาการ์ตูนอินเดียนแดง(Pink Anemonefish) จริงๆแล้ว ที่อันดามันจะเป็นเจ้าอินเดียนครับ ปลาการ์ตูนอินเดียนแดงจะมีเฉพาะในอ่าวไทย จุดสังเกต คือ แม้จะมีลำตัวสีน้ำตาลอมส้มเหมือนกัน ด้านบนมีแถบสีขาวเหมือนกัน แต่อินเดียนไม่มีขีดสีขาวพาดขวางตรงแผ่นปิดเหงือก(ก็ตรงแก้มนั่นแหละครับ) เหมือนอย่างเจ้าอินเดียนแดงแห่งอ่าวไทย
ตามมาติดๆด้วยปลาการ์ตูนลายปล้อง(Clark ‘ s Anemonefish) ดูง่ายๆที่สีขาว สลับดำพาดขวางลำตัว แต่อาจมีการผันแปรของสีครับ ไม่ต้องตกใจว่าทำไมเห็นแล้ว สีมันแปลกๆ เหลืองบ้าง ส้มบ้าง ใช่พวกเขาแน่นอนครับ
และปลาการ์ตูนปานดำ(Red Saddleback Anemonefish) หรืออีกชื่อว่าปลาการ์ตูนมะเขือเทศ จะว่าไปสีลำตัวเหมือนซอสมะเขือเทศจริงๆ แต่ยังไงก็น่ารักอยู่ดี
หันไปด้านขวามือ ใต้ผาหินจะมีซอกอยู่ ผมได้เจอกับปลาดุกทะเล(Striped Catfish) ครั้งแรกโดยบังเอิญ ปกติอาศัยอยู่ในน้ำขุ่นครับ(อ่าวไทย เช่น พัทยา ก็มีเยอะ) แต่ในน้ำใสๆแบบนี้ก็มีพวกเขาเช่นกัน(ขืนไปดูน้ำขุ่น คนตาถั่วแบบผมจะมองเห็นเหรอ 55) ในซอกนี้มีไม่ต่ำกว่า 10 ตัว ปลาดุกทะเลเป็นญาติกับปลาดุกน้ำจืดครับ นอกจากจะมีหนวด(เพราะสายตาไม่ดี ต้องมีหนวดไว้ช่วยหาอาหารครับ) ก็ยังมีเงี่ยงพิษด้วย อย่าไปจับดีที่สุดครับ
พี่ตาม ชี้ให้ผมดูด้านล่าง(มีอะไรหนอ) ผมมองไม่เห็นน่ะ ขยับสายตาไปทางขวา นั่นคือ หมึกกระดอง(Pharaoh Cuttlefish) กำลังลอยตัวอยู่ เสียดายผมไม่เห็นคู่ของเขาครับ ไม่งั้นอาจได้เห็นหมึกมีรักก็ได้นะ(ในหนังสือ เคยเห็นภาพหมึกกระดองมีรักโดยเอาหนวดชนกัน เป็นภาพที่น่ารักมาก)
ด้านล่างมีปลาสิงโต(Common Lionfish) เรียกว่าเป็นครอบครัวดีกว่าไหม(มันน่าจะรู้จักกันน่ะครับ) มีตั้ง 5 ตัว ว่ายวนเวียนใกล้ๆกัน พอเห็นภาพนี้ ไม่ต้องสงสัยถึงความสมบูรณ์ของริเชลิวเลยครับ
ว่ายต่อไป พี่ตามชี้ให้ผมดูสัตว์ทะเลด้านล่าง โอ้ว้าว นี่ คือ ปลาไหล์มอเรย์ม้าลาย(Zebra Moray) กำลังเลื้อยออกมานอกโพรง เลยทำให้เห็นเขาได้อย่างชัดเจน เป็นครั้งแรกที่เห็นเขา หลังจากที่เจอแต่ปลาไหลมอเรย์ยักษ์(Giant Moray)ซะบ่อย สีสันสวยงามเหมือนม้าลายจริงๆแหละ แต่ไม่ควรเข้าไปใกล้ครับ ยังไงก็ไว้ใจไม่ได้ อย่างไรก็ตามถือว่าหาดูไม่ง่ายนัก พบในทะเลอันดามันตามเรือจมหรือกองหินกลางทะเล
ระหว่างไดฟ์ ผมอึดอัดมากครับ ดูหายใจไม่ค่อยเป็นปกติ น้ำก็เข้าหน้ากาก(เพราะไปขยับๆ นั่นแหละครับ) ปวดขมับยังไงก็ไม่รู้ สน๊อคเกิ้ลก็มาบดบังทัศนวิสัย มันจะมาบังหน้าอยู่เรื่อย (ขึ้นไปผมจะถอดออกแน่นอนครับ จะคลายหน้ากากด้วย คิดว่าน่าจะรัดแน่นเกินไป)
ปิดท้ายไดฟ์แรก ที่นายหน้าหมา ชื่อปักเป้า เจ้าเก่าครับ(Blackspotted Puffer)
ขึ้นมาถอดสน๊อคเกิ้ล คลายหน้ากากก่อนเลย ไดฟ์ต่อไป คิดว่าน่าจะดีขึ้นครับ
อาหารเช้ามี ข้าวต้มกุ๊ย ยำไข่เค็ม ปลาเค็มทอด กุนเชียง ยำผักกาดดอง คะน้าหมูกรอบ และผลไม้รวม อร่อยมาก ผมยังอดที่จะไม่เติมไม่ได้แล้ว (อาหารธรรมดาแต่ความอร่อยขั้นเทพครับ)
สาวๆ จาก Scubanet มาอีกครั้งครับ คนแรก คือ พี่สาวเอ็ม(เห็นเอ็มเรียกว่า เจ้) อีกคนหนึ่ง นึกออกกว่า เคยเห็นที่สนามบินภูเก็ต(ทราบภายหลังชื่อว่าปุ๊ย) ทั้ง 2 คนมานั่งที่โต๊ะด้วยครับ ดูจะสนใจหนังสือสัตว์ทะเลของผมมากด้วย ส่วนพี่โหน่งก็ใช้กล้อง SLR ให้เป็นประโยชน์ ถ่ายสาวๆ จนได้เบอร์อีเมลซะงั้น(ผมคงต้องเรียนรู้จากพี่โหน่งอีกเยอะครับ 555)
ตอนแรกว่าจะนอนครับ เพราะไดฟ์ที่แล้วปวดขมับ แต่ 2 สาวประกบแบบนี้ ออกไม่ได้ครับ(ผมว่า ผมไม่ออกดีกว่านะ 5555) ภายหลัง คุยกับพี่โหน่งเล่นๆ ว่า ถ้าผมใช้หนังสือสัตว์ทะเลเรียกสาวๆ ได้ พี่ก็ใช้กล้องเรียกสาวๆได้เหมือนกัน ต่างคนต่างมีทีเด็ดแฮะ 555(เหลือบมองเห็นพี่ตาม แกยิ้มกรุ้มกริ่มครับ แกบอกภายหลังว่า อยากเข้ามานั่งเหมือนกัน แต่ไม่มีที่น่ะ )
ไดฟ์ต่อไป ลงที่กองหินริเชลิวเหมือนเดิมครับ ก่อนลง ผมถ่ายรูปรอยสักบนไหล่พี่โอ๋ ด้านขวาเป็นรูปมังกร น่าเกรงขามมาก ไหงด้านซ้าย กลายเป็นรูปปลาคาร์ฟ มีดอกไม้แดงด้วย(คนละแนวเลยนะพี่ 555)
สบายมากครับ หลังจากทานแอคติเฟดเข้าไป เคลียร์หูได้อย่างดีเยี่ยม(ผมขอตั้งชื่อว่า ยาบ้า สำหรับผมก็แล้วกัน 555)
ที่นี่แม้จะมีตะกอนบ้าง แต่ระดับความใสของน้ำก็หลาย10 เมตร อยู่ดี 2 ปลาวัวอย่าง เจ้าปลาวัวดำ(Blue durgon) ตัวนี้ผมคุ้นเคยดีครับ เพราะปีที่แล้วเห็นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์จนจำได้ อีกชนิด คือ ปลาวัวหางพัด(Scrawled Leatherjacket) ก็ออกมาทักทาย ปลาวัวหางพัดสามารถกางครีบออกได้เหมือนพัด หลายคนอาจสงสัยว่า นายภพเอ้ย ปลาวัวมัน Triggerfish ไม่ใช่เหรอ 555 ถูกต้องครับ อย่าลืมว่าปลาวัวมีหลายสกุลนะ(คนจีน ยังมีหลายแซ่เลยครับ จริงไหมล่ะ)
ดวงตาเหมือนแบลคโฮ(ผมตั้งจากที่สังเกตเห็นเองน่ะ 55) คือ ปลาปักเป้าจุดฟ้า(Bluespotted Puffer) เนื่องจากเขาว่ายช้า ผมเลยมีเวลาสังเกตครับ อีกชนิดก็เป็นปลาปักเป้าหน้าหมา(Blackspotted Puffer) ที่พบได้บ่อยอยู่แล้ว
ที่กลางน้ำ ปลาสากยักษ์(Great Baracuda)ลอยตัวนิ่งๆ อยู่ตัวเดียวครับ เขี้ยวที่โผล่ออกมานนอกปากดูแล้ว ขนพองสยองเกล้าดีแท้(จะซัดนักดำน้ำไหมเนี่ย) ปกติไม่เป็นอันตรายครับแต่จะจู่โจมเมื่อเห็นวัตถุสะท้อนแสง(จะลองดูก็ได้ครับ ผมยังอยากดำน้ำอีกนานนะ 555) เขี้ยวคมๆแบบนี้ ไม่ต้องสงสัยเลยครับว่าคมมากๆ ผมเคยดูสารคดีของเมืองนอก นักดำน้ำไปให้อาหารปลาสาก แค่เฉี่ยวๆ มือ เลือดยังออกเลยครับ
บางทีผมเหนื่อย ก็ใช่มือช่วยครับ จะได้เป็นท่ากบที่สมบูรณ์(ผมว่าไม่มีใครเขาทำกันหรอก ) จริงๆ เป็นข้ออ้างว่าเหนื่อยน่ะ 5555(ดีกว่าเป็นตะคริวครับ)
มาถึงจุดยอดฮิต แม้ผมไม่ได้มา 2 ปีแล้ว แต่เห็นก็จำได้ทันทีครับ เป็นจุดที่นักดำน้ำมารอดูเจ้ากระเบนราหู(Manta ray) ลักษณะเป็นผาหิน มองออกไปด้านนอกจะเป็นกลางน้ำ พี่ตามเขียนสเล๊ดบอร์ดให้ผมทราบว่า “Wait for Manta” เป็นอันรู้กันว่า ให้คอยดู ถ้าโชคดีก็เจอครับ เพราะกลางน้ำแบบนี้ มักจะมีมวลอาหาร เช่น แพลงตอน มากับกระแสน้ำ และแมนต้า ก็ชอบเสียด้วย
คอยดูซักพัก เขาไม่มาครับ เมื่อได้เวลาอันสมควร ทั้งความลึกและอากาศ เราจึงเปลี่ยนระดับไปที่ตื้นขึ้น พี่ตามดูเข็มทิศเพื่อที่จะได้กลับเรือให้ใกล้ที่สุด
ส่วนปลาอื่นๆ ในไดฟ์ไซด์นี้ ที่สังเกตเห็นได้ ก็มีปลาปากแตร(Trumpetfish) ปลาวัวไตตัน(Titan Triggerfish)ขนาดใหญ่ ปลาขี้ตังเบ็ด(Surseonfish) และปลาสลิดหิน(Damsel Fish)
อาหารว่างมีซาลาเปาไส้ครีม+หมูแดง ขนมจีบหมู+กุ้ง เติมพลังงานได้ดีเลยล่ะครับ อร่อยมากด้วย
ผมหาวิวถ่ายรูปเกาะบอน แต่ดันมีเรือมาบัง ต้องหาโอกาสเหมาะๆครับ ผมขึ้นไปบนดาดฟ้าเห็นเรือคายัคด้วยครับ(แหล่มเลยๆๆ)
พระอาทิตย์กำลังตกทะเล ดวงสีส้มแม้มีเมฆมาบังเล็กน้อยแต่ไม่เป็นอุปสรรคของช่างภาพครับ
นักดำน้ำหลายคนเริ่มอาบน้ำเพราะพวกเขาไม่ลงไนท์ไดฟ์(Night Dive) กัน หลายคนไม่ชอบครับ แต่สำหรับผมชอบมากๆเลยแหละ(เมื่อลงไปครั้งแรก จะบอกได้ทันทีครับ ว่าคุณชอบหรือไม่ชอบ)
Night Dive วันนี้ เราดำกันที่เกาะบอนครับ ไฟฉายผมได้มาจากพี่ป้อม (แกให้ยืมก่อน) พี่ตามก็อุตส่าห์ไปเอามาให้ด้วย ดีจริงๆ ลงดิงกี้(เรือยาง) แล้วไปกันดีกว่าครับ
Dive 4 ฮัลโหล หอยเขา!!!!
ใช้ท่า Back Row เอามือจับหน้ากากคาบเรคกูเลเตอร์ หงายหลัง แต่......(ผมลืมคาบเรคกูเลเตอร์ครับ 555) ไม่เป็นไร ไม่ได้กินน้ำทะเลเข้าไปเท่าไร โอเคครับ
ไฟฉายส่องหาสัตว์ทะเล ไม่นานนัก ผมก็พบกับหอยเขา Lamellaridae/Lamellarids(Coriocella Hibyae) 2 ปีก่อนที่ผมมาสิมิลัน ลงไนท์ไดฟ์ก็เจอหอยเขาครั้งแรกที่นี่ครับ ตอนแรกไม่รู้จักชื่อ พอตั้งกระทู้ถามพี่ Doris แห่งทะเลไทย จึงทราบคำตอบครับ(ผมรู้นะ จะพูดต่อว่าอะไร 5555)
หอยเขา เป็นชื่อไทยที่ตั้งกันเอง เป็นญาติกับหอยเบี้ยครับ ไม่ได้พบได้บ่อยๆ ที่พบก็มีที่เกาะสุรินทร์ จ. พังงา และเกาะเฮ จ. ภูเก็ต ลำตัวที่เป็นเนื้อจะห่อหุ้มเปลือกไว้หมด ที่นี่มีหอยเขาเยอะเลยครับ
ต่อจากนั้น เพื่อนซี้ผม ปลานกแก้ว(Parrot Fish) กำลังหลับอยู่ครับ เลยขอไปจูบ เอ้ย ไปทักทายนิดนึง แค่ลูบเบาๆน่ะครับ เขาก็ไม่ตื่นด้วยนะ
มีปูแต่งตัวอยู่บนก้อนหิน(Decorator Crab) (ปูแต่งตัวจะใช้ฟองน้ำมาติดตามร่างกาย เพื่อพรางตัว) ผมคุ้นเคยมาก เพราะพึ่งช่วยเหลือปูแต่งตัวออกจากอวนที่ระยอง เมื่อเดือนที่แล้ว ดีใจที่ได้เห็นพวกเขาไร้เครื่องพันธนาการครับ
เย้ย!!! นั่นมันปลาแมงป่องเกล็ดเล็กนี่นา(Tassled Scorpionfish) เป็นครั้งแรกที่ผมเจอเขาในการดำน้ำกลางคืน เคยแต่พบในเวลากลางวัน ต้องรักษาระยะห่างๆไว้ หากไปถูกอาจจะโดนพิษได้ครับ
นอกนั้นก็เป็นปลาปักเป้าหนามทุเรียน(Black Blotched Porcupinefish) และดาวขนนก(Feather Star) ที่มักจะคึกคักในยามรัตติกาลแบบนี้
ระหว่างขึ้น พี่ตามเรียกให้ผมดูกลุ่ม ผมมัวแต่มองดูพี่โหน่งอยู่(Leader ผม พี่ตามก็อยู่ใกล้ๆ) เลยไม่ได้มองคนอื่นเท่าไรนัก ขึ้นมาบนผิวน้ำเลยถูกบ่นเล็กน้อยครับว่า ต้องดูกลุ่มด้วย ว่าเขาขึ้นกัน (คราวหน้าจะระมัดระวังให้มากกว่านี้ครับ ขอบคุณมากพี่ )
พี่สายชลบอกให้ผมถอด BCD และตะกั่ว ผมบอกว่า ขอเกาะท้ายเรือไปได้ไหมพี่(ด้านข้างจะมีที่เกาะครับ) แกบอกว่าไกล ให้ขึ้นมา
ถูกต้องที่สุดครับ ระยะทางค่อนข้างไกลมาก ขืนไม่เชื่อพี่สายชล คงเหนื่อยแน่ครับ เพราะจุดที่ดิงกี้มารับ จนไปถึงเรือนั้น ผ่านเรือ Liveaboard อยู่หลายลำทีเดียว ไกลพอสมควรเลยล่ะ
อาบน้ำแต่งตัว เรียบร้อยแล้ว อาหารเย็นมี ข้าวสวย แกงจืดเต้าหู้หมูสับ ไก่ผัดขิง หน่อไม้ฝรั่งผัดกุ้ง น้ำพริก+ผักสด ตบท้ายด้วยผลไม้รวม เช่น แตงโม ฝรั่ง สาลี่ เป็นต้น
อย่างที่เคยเล่าให้ฟังว่า มา Liveaboard แบบนี้ ผมมักจะทานมื้อเย็นได้มากที่สุด เพราะกว่าจะลงไดฟ์ต่อไปก็วันรุ่งขึ้น(ไม่ต้องกลัวอาเจียนครับ 555) ไม่แปลกใจที่ว่า ผมเดินไปเติมอาหารบ่อยกว่าทุกมื้อ
ประมาณ 4 ทุ่ม พี่ตามนอนไปแล้ว(คนเป็น Leader ต้องคอยมองคนอื่น ผมว่าเหนื่อยกว่า Diver หลายเท่าครับ) ส่วนผมยังนั่งคุยอยู่กับพี่ๆ เพื่อนๆ นักดำน้ำอีกหลายคน ดื่มเบียร์ไปกระป๋องนึงครับ(นานๆที)
ท้ายสุดก็เหลือเพียง ผม ครูตุ๊กและ น้องเอ็ม เรานั่งคุยกันในหลายๆเรื่องๆ ไปๆมาๆ กลายเป็นว่า ต่างคนก็เล่าประสบการณ์ความรักของตัวเองซะอย่างงั้น ก็สนุกดีนะครับ แชร์ๆ ประสบการณ์กัน
อย่างไรก็ตาม ผมได้ความรู้หลายๆเรื่องจากครูตุ๊กและ เรื่องราวเกี่ยวกับวงการบันเทิงจากน้องเอ็ม (น้องเอ็มมีเพื่อนเป็นดาราและนางแบบเยอะน่ะครับ)
เราแยกย้ายกัน คืนนี้ ผมลองทานแอคติเฟดก่อนนอน(พี่ตามจะทานก่อนนอน ช่วยให้หลับสบายด้วยครับ) พรุ่งนี้อาจเคลียร์หูสบาย ผมอาจจะไม่ต้องทานก็ได้
30 ธันวาคม 2550
ได้ยินตั้งแต่เมื่อคืน ก่อนที่จะนอนว่า เรือจะออกช่วงดึกๆ เพื่อเดินทางมาที่กองหินริเชลิว ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
เช้านี้ ผมตื่นเวลาเดิมครับ เรือเกือบที่จะถึงกองหินริเชลิวแล้วล่ะ กินขนมปังรองท้องก่อนดีกว่า
เมื่อเรือมาถึงกองหินริเชลิว คุณเสรีเล่าให้ฟังถึงประวัติคร่าวๆ บางเรื่องผมเคยอ่านจากในหนังสือท่องเที่ยว ถือว่าฟังซ้ำอีกทีครับ
กลุ่มครูปรีชา บีและเอ็ม แต่งตัวลงไปรอในดิงกี้เรียบร้อยแล้วครับ กลุ่มนี้เขาเร็ว แรง สมกับเป็นกลุ่มแรกเลยทีเดียว
ว่าแล้ว อย่ารอช้าครับ กระโดดด้วยท่า Back Row ลงไปลุยกันเลยครับ
Dive 5 ใต้ทะเลมีปลาดุก!!!!
ริเชลิวน้ำยังคงใสไม่เปลี่ยนแปลง ปะการังอ่อนสีสวย มากจริงๆ ประดับประดาตามกองหิน เหมือนจัดไว้เพื่อต้อนรับเหล่ามนุษย์กบโดยเฉพาะ
ที่นี่ ผมพบกับปลาการ์ตูนถึง 4 ชนิด เริ่มจากปลาการ์ตูนส้มขาว(False Clown Anemonefish) หรือเจ้านีโมที่ทุกคนที่คุ้นเคยกัน เล่าคร่าวๆนิดนึงว่า สังคมปลาการ์ตูน ผู้หญิงเป็นใหญ่ครับ ตัวใหญ่เป็นตัวเมีย ตัวเล็กเป็นตัวผู้ ยามใดที่ตัวเมียตายไป(เหมือนหญิงชรา ที่มักมีคนบอกว่า ยิ่งแก่ ยิ่งตายยาก เกี่ยวกันไหมเนี่ย 555) ตัวเล็กที่เป็นตัวผู้ก็จะกลายเป็นตัวใหญ่และเป็นตัวเมียแทน นั่นก็หมายความว่า 2 เพศในร่างเดียว ปลาการ์ตูนเป็นกระเทยครับ เหมือนกับสัตว์ทะเลอีกหลายชนิดที่มีวงจรชีวิตแบบนี้
ต่อด้วยปลาการ์ตูนอินเดียน(Skunk Anemonefish) ที่คนมักเข้าใจผิดว่า เป็นปลาการ์ตูนอินเดียนแดง(Pink Anemonefish) จริงๆแล้ว ที่อันดามันจะเป็นเจ้าอินเดียนครับ ปลาการ์ตูนอินเดียนแดงจะมีเฉพาะในอ่าวไทย จุดสังเกต คือ แม้จะมีลำตัวสีน้ำตาลอมส้มเหมือนกัน ด้านบนมีแถบสีขาวเหมือนกัน แต่อินเดียนไม่มีขีดสีขาวพาดขวางตรงแผ่นปิดเหงือก(ก็ตรงแก้มนั่นแหละครับ) เหมือนอย่างเจ้าอินเดียนแดงแห่งอ่าวไทย
ตามมาติดๆด้วยปลาการ์ตูนลายปล้อง(Clark ‘ s Anemonefish) ดูง่ายๆที่สีขาว สลับดำพาดขวางลำตัว แต่อาจมีการผันแปรของสีครับ ไม่ต้องตกใจว่าทำไมเห็นแล้ว สีมันแปลกๆ เหลืองบ้าง ส้มบ้าง ใช่พวกเขาแน่นอนครับ
และปลาการ์ตูนปานดำ(Red Saddleback Anemonefish) หรืออีกชื่อว่าปลาการ์ตูนมะเขือเทศ จะว่าไปสีลำตัวเหมือนซอสมะเขือเทศจริงๆ แต่ยังไงก็น่ารักอยู่ดี
หันไปด้านขวามือ ใต้ผาหินจะมีซอกอยู่ ผมได้เจอกับปลาดุกทะเล(Striped Catfish) ครั้งแรกโดยบังเอิญ ปกติอาศัยอยู่ในน้ำขุ่นครับ(อ่าวไทย เช่น พัทยา ก็มีเยอะ) แต่ในน้ำใสๆแบบนี้ก็มีพวกเขาเช่นกัน(ขืนไปดูน้ำขุ่น คนตาถั่วแบบผมจะมองเห็นเหรอ 55) ในซอกนี้มีไม่ต่ำกว่า 10 ตัว ปลาดุกทะเลเป็นญาติกับปลาดุกน้ำจืดครับ นอกจากจะมีหนวด(เพราะสายตาไม่ดี ต้องมีหนวดไว้ช่วยหาอาหารครับ) ก็ยังมีเงี่ยงพิษด้วย อย่าไปจับดีที่สุดครับ
พี่ตาม ชี้ให้ผมดูด้านล่าง(มีอะไรหนอ) ผมมองไม่เห็นน่ะ ขยับสายตาไปทางขวา นั่นคือ หมึกกระดอง(Pharaoh Cuttlefish) กำลังลอยตัวอยู่ เสียดายผมไม่เห็นคู่ของเขาครับ ไม่งั้นอาจได้เห็นหมึกมีรักก็ได้นะ(ในหนังสือ เคยเห็นภาพหมึกกระดองมีรักโดยเอาหนวดชนกัน เป็นภาพที่น่ารักมาก)
ด้านล่างมีปลาสิงโต(Common Lionfish) เรียกว่าเป็นครอบครัวดีกว่าไหม(มันน่าจะรู้จักกันน่ะครับ) มีตั้ง 5 ตัว ว่ายวนเวียนใกล้ๆกัน พอเห็นภาพนี้ ไม่ต้องสงสัยถึงความสมบูรณ์ของริเชลิวเลยครับ
ว่ายต่อไป พี่ตามชี้ให้ผมดูสัตว์ทะเลด้านล่าง โอ้ว้าว นี่ คือ ปลาไหล์มอเรย์ม้าลาย(Zebra Moray) กำลังเลื้อยออกมานอกโพรง เลยทำให้เห็นเขาได้อย่างชัดเจน เป็นครั้งแรกที่เห็นเขา หลังจากที่เจอแต่ปลาไหลมอเรย์ยักษ์(Giant Moray)ซะบ่อย สีสันสวยงามเหมือนม้าลายจริงๆแหละ แต่ไม่ควรเข้าไปใกล้ครับ ยังไงก็ไว้ใจไม่ได้ อย่างไรก็ตามถือว่าหาดูไม่ง่ายนัก พบในทะเลอันดามันตามเรือจมหรือกองหินกลางทะเล
ระหว่างไดฟ์ ผมอึดอัดมากครับ ดูหายใจไม่ค่อยเป็นปกติ น้ำก็เข้าหน้ากาก(เพราะไปขยับๆ นั่นแหละครับ) ปวดขมับยังไงก็ไม่รู้ สน๊อคเกิ้ลก็มาบดบังทัศนวิสัย มันจะมาบังหน้าอยู่เรื่อย (ขึ้นไปผมจะถอดออกแน่นอนครับ จะคลายหน้ากากด้วย คิดว่าน่าจะรัดแน่นเกินไป)
ปิดท้ายไดฟ์แรก ที่นายหน้าหมา ชื่อปักเป้า เจ้าเก่าครับ(Blackspotted Puffer)
ขึ้นมาถอดสน๊อคเกิ้ล คลายหน้ากากก่อนเลย ไดฟ์ต่อไป คิดว่าน่าจะดีขึ้นครับ
อาหารเช้ามี ข้าวต้มกุ๊ย ยำไข่เค็ม ปลาเค็มทอด กุนเชียง ยำผักกาดดอง คะน้าหมูกรอบ และผลไม้รวม อร่อยมาก ผมยังอดที่จะไม่เติมไม่ได้แล้ว (อาหารธรรมดาแต่ความอร่อยขั้นเทพครับ)
สาวๆ จาก Scubanet มาอีกครั้งครับ คนแรก คือ พี่สาวเอ็ม(เห็นเอ็มเรียกว่า เจ้) อีกคนหนึ่ง นึกออกกว่า เคยเห็นที่สนามบินภูเก็ต(ทราบภายหลังชื่อว่าปุ๊ย) ทั้ง 2 คนมานั่งที่โต๊ะด้วยครับ ดูจะสนใจหนังสือสัตว์ทะเลของผมมากด้วย ส่วนพี่โหน่งก็ใช้กล้อง SLR ให้เป็นประโยชน์ ถ่ายสาวๆ จนได้เบอร์อีเมลซะงั้น(ผมคงต้องเรียนรู้จากพี่โหน่งอีกเยอะครับ 555)
ตอนแรกว่าจะนอนครับ เพราะไดฟ์ที่แล้วปวดขมับ แต่ 2 สาวประกบแบบนี้ ออกไม่ได้ครับ(ผมว่า ผมไม่ออกดีกว่านะ 5555) ภายหลัง คุยกับพี่โหน่งเล่นๆ ว่า ถ้าผมใช้หนังสือสัตว์ทะเลเรียกสาวๆ ได้ พี่ก็ใช้กล้องเรียกสาวๆได้เหมือนกัน ต่างคนต่างมีทีเด็ดแฮะ 555(เหลือบมองเห็นพี่ตาม แกยิ้มกรุ้มกริ่มครับ แกบอกภายหลังว่า อยากเข้ามานั่งเหมือนกัน แต่ไม่มีที่น่ะ )
ไดฟ์ต่อไป ลงที่กองหินริเชลิวเหมือนเดิมครับ ก่อนลง ผมถ่ายรูปรอยสักบนไหล่พี่โอ๋ ด้านขวาเป็นรูปมังกร น่าเกรงขามมาก ไหงด้านซ้าย กลายเป็นรูปปลาคาร์ฟ มีดอกไม้แดงด้วย(คนละแนวเลยนะพี่ 555)
3 Comments:
อืม! นึกภาพออกทุกตอนเลย อิอิอิ โดยเฉพาะตอนที่น้องภพคอยชำเลืองมองหาพี่ฮุ้นปวยเอี้ยงในทะเล
ว้าว ! Romanceสุดสุด อิอิ
พี่อิ๋วเองค้า :)
555 ไม่ใช่พี่
บอกว่าไม่ใช่เพื่อน กูรักมึง
เดี๋ยวสาวๆ หายหมดดิ 5555
เฮ้ย! รู้อยู่แก่ใจน่า อิอิอิ :)
Post a Comment
<< Home