อันดามันเหนือ….สวรรค์แห่งการดำน้ำ(2)
http://www.reefkeeping.com/
http://www.hku.hk/
http://www.delivery.superstock.com/
แม้ด้านบนผิวน้ำ แดดจะไม่แรงเท่าไรนัก แต่ด้านล่าง สิมิลันก็ยังคงเป็นสิมิลันครับ น้ำใส มองออกไปได้ระยะไกลหลาย 10 เมตร
ผมเคลียร์หูค่อนข้างยาก จึงเปลี่ยนระดับขึ้นมาเล็กน้อย(ปวดมากครับ ถ้าฝืนลงไป) ทำสัญญาณให้พี่ตามเห็นว่า มีปัญหาที่หู(เคาะแท๊งค์ให้รอผมก่อนด้วยครับ) ใช้เวลาซักพักพอเริ่มเคลียร์หูได้ ผมให้สัญญาณโอเค เราไปลุยกันต่อดีกว่า
พี่โหน่งแกสบายๆมากครับ ได้ลองกล้องใหม่ก็กดกระจาย จากนี้ไปรับรองว่าแกจะถ่ายดีขึ้น ดีขึ้นไปเรื่อยๆแน่นอน
ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า(Powder-blue Surgeonfish) ออกมาทักทายหลายตัว พวกเขาเป็นปลาเจ้าถิ่นในแนวปะการังน้ำใส ในทะเลอันดามันอยู่แล้ว ลำตัวสีฟ้าสดคือจุดเด่น นานมาแล้วที่ผมไม่ได้เห็นพวกเขาเยอะขนาดนี้ ล่าสุดก็ที่ดงปะการังเขากวาง เกาะตอรินลา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์(ก่อนเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิครับ)
ในมวลน้ำสีน้ำเงินเข้ม ผมเคาะ pointer เสียงดัง เรียกพี่โหน่งกับพี่ตาม เพราะปลาที่ผมเห็นตอนนี้ไม่ได้เห็นง่ายๆซะด้วย เจ้าปลานกขุนทองหัวโหนกหรือที่เรียกกันว่า นโปเลียน(Napoleonfish) ออกมาให้ยลโฉมตั้งแต่ไดฟ์แรกเลยครับ เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมเห็นเขา ริมฝีปากที่หนา ลายที่ลำตัวและลักษณะหาง คือ สิ่งทีผมจำได้ ตัวใหญ่ดีครับ แม้จะไม่ใหญ่ที่สุดก็เถอะ(ขนาดโตเต็มวัยได้ถึง 230 ซม เลยครับ) ปลานโปเลียนถือเป็นปลานกขุนทองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด บางครั้งผมสับสนกับปลานกแก้วหัวโหนกที่เคยเจอที่โลซิน แต่ตอนนี้ไม่แล้วครับ 2 ปลานี้ มีลักษณะที่แตกต่างกัน แต่ใครได้เจอ ต้องบอกว่าคุณโชคดีครับ
ผมเห็นน้ำทะเลแปลกออกไป เหมือนมีวุ้นอยู่ ปรากฎว่าพอเข้ามากระทบหน้าเท่านั้นแหละ มีความรู้สึกเย็นจับขั้วหัวใจทันที นี่คือ กระแสน้ำเย็นครับ(อุณหภูมิประมาณ 26 องศาเซลเซียส)
บนพื้นทราย สัตว์ทะเล 1 ชนิด ขยับหนีพวกผมออกไปคนละทาง(รวม 3 ตัว ฉีกออกไป 3 ทางครับ) พวกเขาคือ ปลากระเบนจุดฟ้า(Blue-spotted stringray) แผ่นลำตัวรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน คือจุดเด่น(บนลำตัวจะมีจุดสีฟ้าด้วยครับ หากสังเกตดีๆ) ดูแต่ตาครับ อย่าริที่จะเข้าไปใกล้ๆเพราะบริเวณหาง กระเบนชนิดนี้มีเงี่ยงขนาดใหญ่ตั้ง 2 อันแน่ะ(คงไม่ต้องอธิบายต่อนะครับ แม้พวกเขาจะขนาดไม่ใหญ่นักแต่มีอาวุธป้องกันตัว ดูเฉยๆดีกว่านะ)
ตัวยาวๆ ปากยาวๆแบบนี้ เครื่องดนตรีอะไรจะมาอยู่ใต้น้ำได้(งงซิครับ) พวกเขา คือ ปลาปากแตร(Trumpetfish) พบในแนวปะการังที่มีความอุดมสมบูรณ์ ปลาปากแตรมีความผันแปรของสี อาจเห็นในสีที่หลากหลาย จำลักษณะลำตัวไว้ให้ดีครับ
พี่ตามชี้ให้ดูสัตว์ชนิดหนึ่งในโพรง พอโผล่หน้าเข้าไปดู เป็นเจ้าปลาหมึกยักษ์(Octopus) ใครเห็นก็คุ้นครับ แม้จะไม่เห็นทั้งตัว เพราะคุ้นเคยในร้านอาหารญี่ปุ่นกันอยู่แล้ว
พี่ตามเรียกอีกแล้วครับ คราวนี้ตัวเล็กมาก ขนาดไม่เกิน 5 ซม ผมต้องลงไปดูถึงพื้น ไม่งั้นมองไม่เห็นแน่ครับ ยิ่งตาถั่วอยู่ด้วย(หาที่ landing กางขาดีๆ ไม่ให้โดนปะการัง) นี่คือ ลูกปลานกขุนทองแอฟริกา(African Coris) ลำตัวสีส้ม มีแถบขาวคือจุดเด่น เป็นครั้งแรกที่เห็นเขาครับ หลังจากที่เคยเห็นในรูปจากมัลติพลายที่นักดำน้ำมาโพสไว้(ถ้าไม่ใช่ของคุณ bankie ก็ของคุณ umtgzmo น่ะครับ ไม่แน่ใจ) ใกล้ๆ มีลูกปลานกขุนทองอีก 2 ชนิด แต่ลักษณะไม่เด่นเท่า เลยจำไม่ได้ แต่รู้ว่าหายากครับ
ปะการังอ่อน(Soft Coral) สีม่วง ดูสวยงามครับ ทั้งนี้เพราะอยู่ในที่ลึกเลยเป็นสีนี้(ลงไปด้านล่าง ยิ่งลึก สีจะค่อยๆหายไปครับ) ลองเอากล้องถ่ายรูปแล้วตบแฟลชดู จะได้อีกสีหนึ่งแน่นอน นอกจากนี้ก็ยังมีดาวขนนก(Feather Star) อยู่มาก ดูสวยดีครับ
ในบรรดานักล่าในแนวปะการัง ที่นี่มีเยอะเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นปลากะรังแดงจุดน้ำเงิน(Coral Rockcod) ปลากะรังลายนกยูง(Peacock Grouper) ปลากะรังหน้าแดง(Black-tipped grouper) แต่ที่แปลก คือ มีปลากะรังอยู่ 1 ชนิด รูปร่าง หัวและลำตัว ยาวกว่าปลากะรังทั่วไป แถมมุดเข้าไปอยู่ในกิ่งปะการังด้วยครับ พวกเขาชื่อว่า ปลากะรังหน้ายาว(Slender Grouper) นั่นเอง ต้องขึ้นมาเปิดหนังสือด้านบน จึงจะร้องอ๋อครับ
ในน้ำมีเทวดา อ. ธรณ์ เคยบอกว่า หากผมไม่พูดถึงพวกเขาก็แปลกครับ ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ(Emperor Angelfish) และปลาสินสมุทรบั้งเหลือง (Regal Angelfish) คือเทวดา ที่มาโปรดสัตว์ที่ชื่อว่า มนุษย์ เช่นผม
ผีเสื้อในทะเลก็ดูสวยงามครับ(ไม่ใช่ผีทะเลนะ) เริ่มจาก ปลาผีเสื้อคอขาว(Collared Butterflyfish) ปลาผีเสื้อรูปไข่(Pinstriped Butterflyfish) ปลาผีเสื้อหลังดำ(Black-backed Butterflyfish) และยังมีปลาในครอบครัวอื่นๆ อย่างปลาโนรี(Longfin Bannerfish)และปลาผีเสื้อเทวรูป(Moorish Idol)ด้วย
จำได้ว่า คุณประพันธ์พึ่งถามผมด้านบนเกี่ยวกับ ปลาสร้อยนกเขาแตงโม(Indian Ocean Oriental Sweetlips) ที่นี่ก็มีครับ แต่เจอโดดเดี่ยวอยู่ตัวเดียว ตัวไม่เล็กเลยล่ะครับ ขนาดน่าจะเกือบเต็มวัยด้วย
ปลาวัวที่นี่ ผมเจอ 2 ชนิดครับ คือ ปลาวัวไตตัน(Titan Triggerfish) กับปลาวัวลายส้ม(Orangestriped Triggerfish) โดยเฉพาะไตตัน ชื่อเสียง เรียงนาม เรื่องความดุ เลื่องลือครับ แต่ที่สิมิลันยังไม่เคยได้ยินว่าดุเท่าไรนะครับ เคยได้ยินที่เกาะเต่า กับที่เกาะราชาซะมากกว่า
รวมฝูง สวยๆ หลายคนจะเรียกว่า ข้างเหลือง แสดงว่ายังไม่เจาะจงครับ เพราะหลายชนิดก็เป็นข้างเหลือง ตัวที่ผมเห็นอยู่นี่ คือ ปลากระพงลายห้าแถบ(Five-Lined Snapper) เวลาเห็นพวกเขาเป็นฝูง ดูแล้วสดชื่นดีครับ
เวลาตกใจจะพองตัวออก บางชนิดมีหนาม บางชนิดไม่มีหนาม ปลาปักเป้าครับ ที่นี่ผมเจอปลาปักเป้าหนามทุเรียน(Black Blotched Porcupinefish)(พองตัวมีหนาม)และปลาปักเป้าหน้าหมา(Blackspotted Puffer)(พองตัวไม่มีหนาม) แต่อย่าให้เขาพองตัวเลยครับ แกล้งสัตว์เปล่าๆ
นอกนั้นก็จะมีเจ้าประจำในแนวปะการังอยู่แล้ว คือ ปลานกแก้ว(Parrotfish) ปลาสลิดหินกลมสีทอง(Golden Damsel)และปลาสลิดหินสามจุด(Three-spot Dascyllus)ครับ
อาหารเช้ามี ไข่ดาว แฮม เบคอน ไส้กรอก สลัดผัก และผลไม้ ผมไม่กล้ากินเยอะมากนักเพราะเดี๋ยวจะอึดอัดเวลาลงไดฟ์ต่อไป
แต่ที่ไม่กินไม่ได้ คือ แอคติเฟด ครับ ผมเตรียมมาเยอะเลย สำคัญมากเวลามีปัญหาเรื่องการเคลียร์หู(เป็นยาลดน้ำมูกครับ แต่น่าจะช่วยขยายโพรงจมูก) แอคติเฟดกลายเป็นคู่ซี้ของผมไปซะแล้ว ข้อเสีย คือง่วงนอนครับ
ดิงกี้จาก Scubanet มาที่นี่ พร้อมกับครูต้องและอีก 2 สาว(คนหนึ่งผมจำได้เพราะเห็นที่สนามบินภูเก็ต อีกคนหนึ่ง ทราบภายหลังว่า เป็นพี่สาวของน้องเอ็มครับ) ดูเธอจะสนใจหนังสือสัตว์ทะเลของผมด้วยครับ(55555 เข้าล็อค เข้าล๊อค)
ผมหาที่ว่างด้านหน้าเรือ แดดส่องไม่ถึง นอนหลับได้ซักพักเจ็บหัวครับ เลยไปหาผ้าห่มมาหนุนหัว สบายดีแท้(จำได้ว่ามีพี่หนุ่ยกับพี่ไข่นุ้ยอยู่ใกล้ๆด้วย)
เรือโชคศุลีมาถึงเกาะเก้า(North point) เป็นสัญญาณให้ผมทราบว่า ถึงเวลาลงไดฟ์ที่ 2 แล้ว
Dive 2 Cleaning Station/ Depth Gate เสีย!!!
ลงมาได้ไม่นานนัก เจ้าปลานกขุนทองหัวโหนก (ปลานโปเลียน Napoleonfish) ออกมาปรากฎกายก่อนเลยครับ แต่ไม่ใช่ตัวเดียวกับไดฟ์ที่แล้วนะครับ เพราะจุดที่เราลงคนละจุด แถมห่างกันมากซะด้วย
พี่ตามเรียกให้ผมดูสิ่งเล็กๆเหนือแนวปะการัง ตอนแรกผมมองไม่ออกว่า มันคืออะไรกันแน่ สังเกตดีๆ เหนือแนวปะการังแห่งนี้ คือ Cleaning Station ครับ เจ้าปลาพยาบาล(Bluestreak Cleaner Wrasse) รับหน้าที่ทำความสะอาดปลาอื่น โดยกำลังตอดกินปรสิตตามร่างกายของปลานกขุนทองเขียวพระอินทร์(Cressent Wrasse) ดูท่าทางจะมีความสุขทั้งคู่ครับ(ไปดำน้ำครั้งต่อไป ลองสังเกตชีวิตจริงๆเหล่านี้นะครับ ดีกว่าที่สยามโอเชี่ยนเวอร์เยอะเลยล่ะ)
เจ้าป่าบนบก ลงมาใต้ทะเลเหมือนกันครับ เขาคือ ปลาสิงโตครีบจุด(Spotfin Lionfish) ถือเป็นปลาสิงโตอีก 1 ชนิด ที่พบได้บ่อย นอกจาก ปลาสิงโต Common Lionfish ครับ
ปลาวัวที่ว่ายผ่านผมไป ชื่อไทย คือ ปลาวัวหางลิ่ม(Wedge Picassofish) แต่ผมกลับชอบเรียกว่า ปลาวัวปิกัสโซ่มากกว่า ลวดลายที่ลำตัว เหมือนแต่งแต้มศิลปะจากฝีมือศิลปินเอกจริงๆครับ
ปลาการ์ตูนลายปล้อง(Clark ‘ s Anemonefish) แถมสีขาว 3 แถบที่พาดขวางลำตัว คือ จุดเด่น ลองสังเกตดีๆนะครับ ปลาการ์ตูนไม่ได้มีแต่เจ้านีโมอย่างเดียวนะ ชนิดอื่นก็มีความน่ารักไม่แพ้กัน
ต่อไป คือ ปลาผีเสื้อลายไขว้(Threadfin Butterflyfish) ผมจำได้เพราะลายทแยงที่ลำตัวและลักษณะของสี อีกชนิด คือ ปลาผีเสื้อลายทแยงครีบดำ(Indian Vagabond Butterflyfish) สีและลวดลายที่ลำตัว ทำให้ผมมองเห็นความลึกลับของปลาผีเสื้อชนิดนี้ครับ
สัตว์ทะเลชนิดหนึ่งกำลังเคลื่อนไหวอยู่ด้านล่างครับ ลักษณะเป็นปูแน่ๆ สีผมไม่มั่นใจนัก แต่พี่ตามอยู่ใกล้ที่สุด บอกลักษณะให้ฟัง เจ้านี่ คือ ปูเสฉวนเกล็ดขนทอง(Hairry yellow hermit crab) จัดเป็นปูเสฉวนที่หายากมากครับ นับว่าโชคดีเหมือนกันที่เจอพวกเขา
นอกจากนั้นตามแนวปะการังก็มีปลาปากแตร(Trumpetfish) ปะการังอ่อนสีม่วง(Soft Coral) ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ(Emperor Angelfish) และปลาสินสมุทรบั้งเหลือง (Regal Angelfish) ปลาวัวไตตัน(Titan Triggerfish)และปลิงทะเล(Sea Cucumber)
พี่โหน่งเรียกผม หยิบ Depth Gate ของแกมาให้ดู คนอะไรเก่งจริงๆ ลงมาหลายนาที แต่อากาศเหลือ 200 บาร์ เท่าเดิม ท่าทางพี่โหน่งจะใช้เหงือกหายใจซะละมั้ง
ไม่ต้องสงสัยเลยครับว่า Depth Gate ของแกเสีย(เป็นคนอื่น อาจมี Panic ก็ได้ แต่พี่โหน่งไม่ครับ) แต่พอจะเดาอากาศของแกได้ โดยดูจากอากาศของผม เพราะส่วนใหญ่ แกจะใช้อากาศมากกว่าผม 20-30 บาร์
บอก Leader ของเราให้ทราบดีกว่า พี่ตามเรียกให้ลงมาที่พื้น ให้ Octopus กับพี่โหน่ง และลองปิดแท๊งค์และเปิดใหม่ Depth Gate ยังนิ่งที่ 200 บาร์เท่าเดิม ขึ้นไปด้านบนคงต้องไปเปลี่ยนแล้วครับ
พี่ตามแสดงสัญญาณให้ผมและพี่โหน่ง ดำน้ำตีคู่กันไว้ หากมีปัญหาจะได้ช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ผมคอยเหลือบมองแก ในขณะที่พี่โหน่งเรียบเฉย(กลายเป็นว่า ผมตื่นเต้นกว่าพี่โหน่งอีกครับ 555)
แต่ผมยังพอสังเกตเห็นปลาได้บ้าง หนึ่งในนั้น เป็นปลาปักเป้าขนาดบิ๊กไซด์ คือ ปลาปักเป้ายักษ์(Star Puffer) ตัวใหญ่ดีจริงๆครับ
กลางน้ำมีปลา ใช่ครับ นี่ คือ ฝูงปลามงครีบฟ้า(Bluefin Trevally) ผมจดจำลักษณะลำตัวได้ดี เมื่อประกอบกับอยู่รวมฝูงขนาดเล็ก 2-4 ตัว จึงมั่นใจว่าใช่พวกเขาแน่นอนครับ
เงาทะมึนด้านข้างผม แม้จะไม่เห็นใบหน้า แต่ลำตัวและลักษณะครีบหางที่ตัดตรงทำให้ผมทราบว่า นี่คือ ปลากุดสลาดจุดฟ้า(Squaretail coralgrouper) กุดสลาดก็ถือเป็นปลานักล่าเช่นกันครับ
จากนี้ไป ผมก็ไม่ค่อยได้สังเกตสัตว์ทะเลแล้วครับ ต้องคอยดูอากาศของตัวเอง(คิดในใจด้วยว่า อากาศของแกจะเหลือเท่าไร)และเหลือบมองพี่โหน่งให้มากกว่าเดิม
มื้อกลางวัน มี บะหมี่เกี้ยวหมู+ลูกชิ้นหมู+หมูแดง ผมชอบแห้งเลยกินแบบแห้ง รสชาติของลูกชิ้นหมู ผมว่าอร่อยมากครับ ตบท้ายด้วยผลไม้รวม
จบไดฟ์นี้ เราเปลี่ยนแผนไปที่เกาะบอนครับ ในวันสุดท้ายเราจะกลับมาดำแถวสิมิลันอีกครั้งหนึ่ง
ใช้เวลาพอสมควร เรามาถึงเกาะบอน เกาะที่มีลักษณะเด่น มีรูอยู่ตรงกลางเกาะ(พี่จินเคยบอกไว้ครับ)
Dive 1 นโปเลียนประจัญบาน!!!!!
แม้ด้านบนผิวน้ำ แดดจะไม่แรงเท่าไรนัก แต่ด้านล่าง สิมิลันก็ยังคงเป็นสิมิลันครับ น้ำใส มองออกไปได้ระยะไกลหลาย 10 เมตร
ผมเคลียร์หูค่อนข้างยาก จึงเปลี่ยนระดับขึ้นมาเล็กน้อย(ปวดมากครับ ถ้าฝืนลงไป) ทำสัญญาณให้พี่ตามเห็นว่า มีปัญหาที่หู(เคาะแท๊งค์ให้รอผมก่อนด้วยครับ) ใช้เวลาซักพักพอเริ่มเคลียร์หูได้ ผมให้สัญญาณโอเค เราไปลุยกันต่อดีกว่า
พี่โหน่งแกสบายๆมากครับ ได้ลองกล้องใหม่ก็กดกระจาย จากนี้ไปรับรองว่าแกจะถ่ายดีขึ้น ดีขึ้นไปเรื่อยๆแน่นอน
ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า(Powder-blue Surgeonfish) ออกมาทักทายหลายตัว พวกเขาเป็นปลาเจ้าถิ่นในแนวปะการังน้ำใส ในทะเลอันดามันอยู่แล้ว ลำตัวสีฟ้าสดคือจุดเด่น นานมาแล้วที่ผมไม่ได้เห็นพวกเขาเยอะขนาดนี้ ล่าสุดก็ที่ดงปะการังเขากวาง เกาะตอรินลา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์(ก่อนเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิครับ)
ในมวลน้ำสีน้ำเงินเข้ม ผมเคาะ pointer เสียงดัง เรียกพี่โหน่งกับพี่ตาม เพราะปลาที่ผมเห็นตอนนี้ไม่ได้เห็นง่ายๆซะด้วย เจ้าปลานกขุนทองหัวโหนกหรือที่เรียกกันว่า นโปเลียน(Napoleonfish) ออกมาให้ยลโฉมตั้งแต่ไดฟ์แรกเลยครับ เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมเห็นเขา ริมฝีปากที่หนา ลายที่ลำตัวและลักษณะหาง คือ สิ่งทีผมจำได้ ตัวใหญ่ดีครับ แม้จะไม่ใหญ่ที่สุดก็เถอะ(ขนาดโตเต็มวัยได้ถึง 230 ซม เลยครับ) ปลานโปเลียนถือเป็นปลานกขุนทองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด บางครั้งผมสับสนกับปลานกแก้วหัวโหนกที่เคยเจอที่โลซิน แต่ตอนนี้ไม่แล้วครับ 2 ปลานี้ มีลักษณะที่แตกต่างกัน แต่ใครได้เจอ ต้องบอกว่าคุณโชคดีครับ
ผมเห็นน้ำทะเลแปลกออกไป เหมือนมีวุ้นอยู่ ปรากฎว่าพอเข้ามากระทบหน้าเท่านั้นแหละ มีความรู้สึกเย็นจับขั้วหัวใจทันที นี่คือ กระแสน้ำเย็นครับ(อุณหภูมิประมาณ 26 องศาเซลเซียส)
บนพื้นทราย สัตว์ทะเล 1 ชนิด ขยับหนีพวกผมออกไปคนละทาง(รวม 3 ตัว ฉีกออกไป 3 ทางครับ) พวกเขาคือ ปลากระเบนจุดฟ้า(Blue-spotted stringray) แผ่นลำตัวรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน คือจุดเด่น(บนลำตัวจะมีจุดสีฟ้าด้วยครับ หากสังเกตดีๆ) ดูแต่ตาครับ อย่าริที่จะเข้าไปใกล้ๆเพราะบริเวณหาง กระเบนชนิดนี้มีเงี่ยงขนาดใหญ่ตั้ง 2 อันแน่ะ(คงไม่ต้องอธิบายต่อนะครับ แม้พวกเขาจะขนาดไม่ใหญ่นักแต่มีอาวุธป้องกันตัว ดูเฉยๆดีกว่านะ)
ตัวยาวๆ ปากยาวๆแบบนี้ เครื่องดนตรีอะไรจะมาอยู่ใต้น้ำได้(งงซิครับ) พวกเขา คือ ปลาปากแตร(Trumpetfish) พบในแนวปะการังที่มีความอุดมสมบูรณ์ ปลาปากแตรมีความผันแปรของสี อาจเห็นในสีที่หลากหลาย จำลักษณะลำตัวไว้ให้ดีครับ
พี่ตามชี้ให้ดูสัตว์ชนิดหนึ่งในโพรง พอโผล่หน้าเข้าไปดู เป็นเจ้าปลาหมึกยักษ์(Octopus) ใครเห็นก็คุ้นครับ แม้จะไม่เห็นทั้งตัว เพราะคุ้นเคยในร้านอาหารญี่ปุ่นกันอยู่แล้ว
พี่ตามเรียกอีกแล้วครับ คราวนี้ตัวเล็กมาก ขนาดไม่เกิน 5 ซม ผมต้องลงไปดูถึงพื้น ไม่งั้นมองไม่เห็นแน่ครับ ยิ่งตาถั่วอยู่ด้วย(หาที่ landing กางขาดีๆ ไม่ให้โดนปะการัง) นี่คือ ลูกปลานกขุนทองแอฟริกา(African Coris) ลำตัวสีส้ม มีแถบขาวคือจุดเด่น เป็นครั้งแรกที่เห็นเขาครับ หลังจากที่เคยเห็นในรูปจากมัลติพลายที่นักดำน้ำมาโพสไว้(ถ้าไม่ใช่ของคุณ bankie ก็ของคุณ umtgzmo น่ะครับ ไม่แน่ใจ) ใกล้ๆ มีลูกปลานกขุนทองอีก 2 ชนิด แต่ลักษณะไม่เด่นเท่า เลยจำไม่ได้ แต่รู้ว่าหายากครับ
ปะการังอ่อน(Soft Coral) สีม่วง ดูสวยงามครับ ทั้งนี้เพราะอยู่ในที่ลึกเลยเป็นสีนี้(ลงไปด้านล่าง ยิ่งลึก สีจะค่อยๆหายไปครับ) ลองเอากล้องถ่ายรูปแล้วตบแฟลชดู จะได้อีกสีหนึ่งแน่นอน นอกจากนี้ก็ยังมีดาวขนนก(Feather Star) อยู่มาก ดูสวยดีครับ
ในบรรดานักล่าในแนวปะการัง ที่นี่มีเยอะเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นปลากะรังแดงจุดน้ำเงิน(Coral Rockcod) ปลากะรังลายนกยูง(Peacock Grouper) ปลากะรังหน้าแดง(Black-tipped grouper) แต่ที่แปลก คือ มีปลากะรังอยู่ 1 ชนิด รูปร่าง หัวและลำตัว ยาวกว่าปลากะรังทั่วไป แถมมุดเข้าไปอยู่ในกิ่งปะการังด้วยครับ พวกเขาชื่อว่า ปลากะรังหน้ายาว(Slender Grouper) นั่นเอง ต้องขึ้นมาเปิดหนังสือด้านบน จึงจะร้องอ๋อครับ
ในน้ำมีเทวดา อ. ธรณ์ เคยบอกว่า หากผมไม่พูดถึงพวกเขาก็แปลกครับ ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ(Emperor Angelfish) และปลาสินสมุทรบั้งเหลือง (Regal Angelfish) คือเทวดา ที่มาโปรดสัตว์ที่ชื่อว่า มนุษย์ เช่นผม
ผีเสื้อในทะเลก็ดูสวยงามครับ(ไม่ใช่ผีทะเลนะ) เริ่มจาก ปลาผีเสื้อคอขาว(Collared Butterflyfish) ปลาผีเสื้อรูปไข่(Pinstriped Butterflyfish) ปลาผีเสื้อหลังดำ(Black-backed Butterflyfish) และยังมีปลาในครอบครัวอื่นๆ อย่างปลาโนรี(Longfin Bannerfish)และปลาผีเสื้อเทวรูป(Moorish Idol)ด้วย
จำได้ว่า คุณประพันธ์พึ่งถามผมด้านบนเกี่ยวกับ ปลาสร้อยนกเขาแตงโม(Indian Ocean Oriental Sweetlips) ที่นี่ก็มีครับ แต่เจอโดดเดี่ยวอยู่ตัวเดียว ตัวไม่เล็กเลยล่ะครับ ขนาดน่าจะเกือบเต็มวัยด้วย
ปลาวัวที่นี่ ผมเจอ 2 ชนิดครับ คือ ปลาวัวไตตัน(Titan Triggerfish) กับปลาวัวลายส้ม(Orangestriped Triggerfish) โดยเฉพาะไตตัน ชื่อเสียง เรียงนาม เรื่องความดุ เลื่องลือครับ แต่ที่สิมิลันยังไม่เคยได้ยินว่าดุเท่าไรนะครับ เคยได้ยินที่เกาะเต่า กับที่เกาะราชาซะมากกว่า
รวมฝูง สวยๆ หลายคนจะเรียกว่า ข้างเหลือง แสดงว่ายังไม่เจาะจงครับ เพราะหลายชนิดก็เป็นข้างเหลือง ตัวที่ผมเห็นอยู่นี่ คือ ปลากระพงลายห้าแถบ(Five-Lined Snapper) เวลาเห็นพวกเขาเป็นฝูง ดูแล้วสดชื่นดีครับ
เวลาตกใจจะพองตัวออก บางชนิดมีหนาม บางชนิดไม่มีหนาม ปลาปักเป้าครับ ที่นี่ผมเจอปลาปักเป้าหนามทุเรียน(Black Blotched Porcupinefish)(พองตัวมีหนาม)และปลาปักเป้าหน้าหมา(Blackspotted Puffer)(พองตัวไม่มีหนาม) แต่อย่าให้เขาพองตัวเลยครับ แกล้งสัตว์เปล่าๆ
นอกนั้นก็จะมีเจ้าประจำในแนวปะการังอยู่แล้ว คือ ปลานกแก้ว(Parrotfish) ปลาสลิดหินกลมสีทอง(Golden Damsel)และปลาสลิดหินสามจุด(Three-spot Dascyllus)ครับ
อาหารเช้ามี ไข่ดาว แฮม เบคอน ไส้กรอก สลัดผัก และผลไม้ ผมไม่กล้ากินเยอะมากนักเพราะเดี๋ยวจะอึดอัดเวลาลงไดฟ์ต่อไป
แต่ที่ไม่กินไม่ได้ คือ แอคติเฟด ครับ ผมเตรียมมาเยอะเลย สำคัญมากเวลามีปัญหาเรื่องการเคลียร์หู(เป็นยาลดน้ำมูกครับ แต่น่าจะช่วยขยายโพรงจมูก) แอคติเฟดกลายเป็นคู่ซี้ของผมไปซะแล้ว ข้อเสีย คือง่วงนอนครับ
ดิงกี้จาก Scubanet มาที่นี่ พร้อมกับครูต้องและอีก 2 สาว(คนหนึ่งผมจำได้เพราะเห็นที่สนามบินภูเก็ต อีกคนหนึ่ง ทราบภายหลังว่า เป็นพี่สาวของน้องเอ็มครับ) ดูเธอจะสนใจหนังสือสัตว์ทะเลของผมด้วยครับ(55555 เข้าล็อค เข้าล๊อค)
ผมหาที่ว่างด้านหน้าเรือ แดดส่องไม่ถึง นอนหลับได้ซักพักเจ็บหัวครับ เลยไปหาผ้าห่มมาหนุนหัว สบายดีแท้(จำได้ว่ามีพี่หนุ่ยกับพี่ไข่นุ้ยอยู่ใกล้ๆด้วย)
เรือโชคศุลีมาถึงเกาะเก้า(North point) เป็นสัญญาณให้ผมทราบว่า ถึงเวลาลงไดฟ์ที่ 2 แล้ว
Dive 2 Cleaning Station/ Depth Gate เสีย!!!
ลงมาได้ไม่นานนัก เจ้าปลานกขุนทองหัวโหนก (ปลานโปเลียน Napoleonfish) ออกมาปรากฎกายก่อนเลยครับ แต่ไม่ใช่ตัวเดียวกับไดฟ์ที่แล้วนะครับ เพราะจุดที่เราลงคนละจุด แถมห่างกันมากซะด้วย
พี่ตามเรียกให้ผมดูสิ่งเล็กๆเหนือแนวปะการัง ตอนแรกผมมองไม่ออกว่า มันคืออะไรกันแน่ สังเกตดีๆ เหนือแนวปะการังแห่งนี้ คือ Cleaning Station ครับ เจ้าปลาพยาบาล(Bluestreak Cleaner Wrasse) รับหน้าที่ทำความสะอาดปลาอื่น โดยกำลังตอดกินปรสิตตามร่างกายของปลานกขุนทองเขียวพระอินทร์(Cressent Wrasse) ดูท่าทางจะมีความสุขทั้งคู่ครับ(ไปดำน้ำครั้งต่อไป ลองสังเกตชีวิตจริงๆเหล่านี้นะครับ ดีกว่าที่สยามโอเชี่ยนเวอร์เยอะเลยล่ะ)
เจ้าป่าบนบก ลงมาใต้ทะเลเหมือนกันครับ เขาคือ ปลาสิงโตครีบจุด(Spotfin Lionfish) ถือเป็นปลาสิงโตอีก 1 ชนิด ที่พบได้บ่อย นอกจาก ปลาสิงโต Common Lionfish ครับ
ปลาวัวที่ว่ายผ่านผมไป ชื่อไทย คือ ปลาวัวหางลิ่ม(Wedge Picassofish) แต่ผมกลับชอบเรียกว่า ปลาวัวปิกัสโซ่มากกว่า ลวดลายที่ลำตัว เหมือนแต่งแต้มศิลปะจากฝีมือศิลปินเอกจริงๆครับ
ปลาการ์ตูนลายปล้อง(Clark ‘ s Anemonefish) แถมสีขาว 3 แถบที่พาดขวางลำตัว คือ จุดเด่น ลองสังเกตดีๆนะครับ ปลาการ์ตูนไม่ได้มีแต่เจ้านีโมอย่างเดียวนะ ชนิดอื่นก็มีความน่ารักไม่แพ้กัน
ต่อไป คือ ปลาผีเสื้อลายไขว้(Threadfin Butterflyfish) ผมจำได้เพราะลายทแยงที่ลำตัวและลักษณะของสี อีกชนิด คือ ปลาผีเสื้อลายทแยงครีบดำ(Indian Vagabond Butterflyfish) สีและลวดลายที่ลำตัว ทำให้ผมมองเห็นความลึกลับของปลาผีเสื้อชนิดนี้ครับ
สัตว์ทะเลชนิดหนึ่งกำลังเคลื่อนไหวอยู่ด้านล่างครับ ลักษณะเป็นปูแน่ๆ สีผมไม่มั่นใจนัก แต่พี่ตามอยู่ใกล้ที่สุด บอกลักษณะให้ฟัง เจ้านี่ คือ ปูเสฉวนเกล็ดขนทอง(Hairry yellow hermit crab) จัดเป็นปูเสฉวนที่หายากมากครับ นับว่าโชคดีเหมือนกันที่เจอพวกเขา
นอกจากนั้นตามแนวปะการังก็มีปลาปากแตร(Trumpetfish) ปะการังอ่อนสีม่วง(Soft Coral) ปลาสินสมุทรจักรพรรดิ(Emperor Angelfish) และปลาสินสมุทรบั้งเหลือง (Regal Angelfish) ปลาวัวไตตัน(Titan Triggerfish)และปลิงทะเล(Sea Cucumber)
พี่โหน่งเรียกผม หยิบ Depth Gate ของแกมาให้ดู คนอะไรเก่งจริงๆ ลงมาหลายนาที แต่อากาศเหลือ 200 บาร์ เท่าเดิม ท่าทางพี่โหน่งจะใช้เหงือกหายใจซะละมั้ง
ไม่ต้องสงสัยเลยครับว่า Depth Gate ของแกเสีย(เป็นคนอื่น อาจมี Panic ก็ได้ แต่พี่โหน่งไม่ครับ) แต่พอจะเดาอากาศของแกได้ โดยดูจากอากาศของผม เพราะส่วนใหญ่ แกจะใช้อากาศมากกว่าผม 20-30 บาร์
บอก Leader ของเราให้ทราบดีกว่า พี่ตามเรียกให้ลงมาที่พื้น ให้ Octopus กับพี่โหน่ง และลองปิดแท๊งค์และเปิดใหม่ Depth Gate ยังนิ่งที่ 200 บาร์เท่าเดิม ขึ้นไปด้านบนคงต้องไปเปลี่ยนแล้วครับ
พี่ตามแสดงสัญญาณให้ผมและพี่โหน่ง ดำน้ำตีคู่กันไว้ หากมีปัญหาจะได้ช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ผมคอยเหลือบมองแก ในขณะที่พี่โหน่งเรียบเฉย(กลายเป็นว่า ผมตื่นเต้นกว่าพี่โหน่งอีกครับ 555)
แต่ผมยังพอสังเกตเห็นปลาได้บ้าง หนึ่งในนั้น เป็นปลาปักเป้าขนาดบิ๊กไซด์ คือ ปลาปักเป้ายักษ์(Star Puffer) ตัวใหญ่ดีจริงๆครับ
กลางน้ำมีปลา ใช่ครับ นี่ คือ ฝูงปลามงครีบฟ้า(Bluefin Trevally) ผมจดจำลักษณะลำตัวได้ดี เมื่อประกอบกับอยู่รวมฝูงขนาดเล็ก 2-4 ตัว จึงมั่นใจว่าใช่พวกเขาแน่นอนครับ
เงาทะมึนด้านข้างผม แม้จะไม่เห็นใบหน้า แต่ลำตัวและลักษณะครีบหางที่ตัดตรงทำให้ผมทราบว่า นี่คือ ปลากุดสลาดจุดฟ้า(Squaretail coralgrouper) กุดสลาดก็ถือเป็นปลานักล่าเช่นกันครับ
จากนี้ไป ผมก็ไม่ค่อยได้สังเกตสัตว์ทะเลแล้วครับ ต้องคอยดูอากาศของตัวเอง(คิดในใจด้วยว่า อากาศของแกจะเหลือเท่าไร)และเหลือบมองพี่โหน่งให้มากกว่าเดิม
มื้อกลางวัน มี บะหมี่เกี้ยวหมู+ลูกชิ้นหมู+หมูแดง ผมชอบแห้งเลยกินแบบแห้ง รสชาติของลูกชิ้นหมู ผมว่าอร่อยมากครับ ตบท้ายด้วยผลไม้รวม
จบไดฟ์นี้ เราเปลี่ยนแผนไปที่เกาะบอนครับ ในวันสุดท้ายเราจะกลับมาดำแถวสิมิลันอีกครั้งหนึ่ง
ใช้เวลาพอสมควร เรามาถึงเกาะบอน เกาะที่มีลักษณะเด่น มีรูอยู่ตรงกลางเกาะ(พี่จินเคยบอกไว้ครับ)
0 Comments:
Post a Comment
<< Home